top of page

คนอยากมีบ้านต้องอ่าน ! เช็คลิสต์7ความพร้อมก่อนซื้อบ้านอย่างสบายใจ

อสังหาริมทรัพย์


ยุคนี้ความฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเองเป็นจริงได้ไม่ยากแม้ไม่มีเงินเก็บเป็นก้อนใหญ่ ยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจยังเดินหน้าไปช้า ๆ แบบนี้ หลายผู้ประกอบการอสังหาฯ ก็มีการนำเสนอโปรโมชั่นดึงดูดใจให้ใคร ๆ ต้องคิดอยากมีบ้านกันทุกคน แต่ช้าก่อน! ถึงแม้ช่วงนี้ราคาอสังหาฯ จะดึงดูดใจขนาดไหน ก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเสมอ เพราะการซื้อที่อยู่อาศัยคงไม่ได้มีโอกาสได้ซื้อกันบ่อย ๆ จะซื้อทั้งทีต้องได้บ้านดี ๆ ทำเลถูกใจ ได้โปรโมชั่นที่คุ้มที่สุด ทีนี้เราลองมาเช็คสถานะความพร้อมของตัวเองกันก่อน

1.สถานะการเงินของคุณต้องปลอดหนี้สิน หรือหากมีหนี้ในระบบก็ต้องมีในสัดส่วนที่เมื่อรวมกับค่าผ่อนบ้านที่จะซื้อแล้วไม่เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน เพื่อให้ธนาคารพิจารณาให้เครดิตสินเชื่อคุณได้เต็มราคาบ้าน เพราะถ้ายังมีหนี้สินอื่นอยู่ ธนาคารจะไม่พิจารณาให้กู้เต็ม 100% แน่ๆ หลายคนจึงใช้วิธีโปะหนี้บัตรเครดิตให้หมดก่อนไม่ว่าจะด้วยวิธีใดเพื่อให้มีสถานะปลอดหนี้ก่อนเตรียมกู้สินเชื่อบ้าน

2.มองหาคนกู้ร่วม อันนี้เตรียมเผื่อไว้กรณีคิดคำนวณแล้วเห็นว่าลำพังคุณคนเดียว อาจมีเครดิตไม่พอกับหลักพิจารณาของธนาคารผู้ให้กู้ เพราะกรณีมีผู้ร่วมกู้ด้วย ธนาคารก็พิจารณาในเกณฑ์เดียวข้อแรก คือ จะหักค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมหนี้สินของผู้กู้ทุกคน แล้วพิจารณาให้สินเชื่อไปตามสัดส่วนเงินรายได้ที่เหลือการมีคนกู้ร่วม ก็ทำให้สามารถกู้วงเงินได้สูงขึ้น

3.ประเมินความสามารถในการผ่อน เพื่อดูว่าความต้องการบ้านของคุณกับความสามารถในการมีบ้านไปกันได้หรือไม่ ทำได้ง่ายๆ เดี๋ยวนี้ในเว็บไซต์ของบริษัทผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยชั้นนำจะมีโปรแกรมให้ผู้สนใจได้ลองคำนวณรายได้ วงเงินกู้ อัตราผ่อนชำระ และระดับโครงการแบบใดที่เหมาะกับคุณ ลองเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์โครงการที่เล็งไว้แล้วประเมินดู อาจจะทำให้คุณวางแผนเตรียมซื้อบ้านได้รัดกุมขึ้น

4. ประเมินค่าใช้จ่ายต่อเดือน เมื่อหมายตาบ้านไว้แล้ว มาประเมินค่าใช้จ่ายกัน เช่น ค่าผ่อนบ้านค่าส่วนกลาง และอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน คิดเป็นตัวเลขอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อตัดสินใจได้ว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั้นอยู่ในระดับที่รายได้และเงินออมของคุณรับไหว ตรงนี้ยืดหยุ่นได้ ถ้าประเมินแล้วดูจะหนักไป อาจต้องลดราคาบ้านที่เล็งไว้ หรือไม่ก็ใช้เวลาเก็บเงินเพิ่มอีกสักหน่อย เพื่อที่จะไม่เป็นภาระใช้จ่ายที่เกินตัวมากไป

5. มีแผนออมเงิน เพราะหลังจากซื้อบ้านแล้ว คุณยังต้องเจอค่าใช้จ่ายเรื่องบ้านในระยะต่อๆ ไปด้วย แม้จะค่อยๆ ทำไปแต่ก็ถือเป็นรายจ่ายในอนาคต จำเป็นต้องออมเงินไว้ล่วงหน้า เช่น ค่าซ่อมและต่อเติมบ้าน ค่าประกันภัย ข้าวของเครื่องใช้จำเป็นภายในบ้าน

6.เตรียมเงินเก็บจำนวนหนึ่ง สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการจองยูนิต ทำสัญญา และโอนจดจำนอง คำนวณคร่าวๆ ทั้งสามเรื่องรวมกันไม่เกิน 2% ของราคาบ้าน ในที่นี้อนุมานราคาบ้านไว้กลมๆ ไม่เกิน 3ล้าน ยังมีรายจ่ายยุบยิบเพิ่มเติมอีก เช่น ค่ามิเตอร์ไฟ ค่ามิเตอร์น้ำ ค่าจัดสวน ค่าปั้มน้ำ ถังเก็บน้ำฯลฯ คุณจึงควรมีเงินเตรียมอุ่นๆ ไว้ในกระเป๋าพร้อมจ่ายประมาณ 50,000 บาท ถ้ายังไม่มีหรือมีไม่ถึง ลองลดราคาบ้านลง หรือไม่ก็รอโปรโมชั่นดีๆ จากโครงการ ที่บางครั้งก็จัดให้เต็มแพคแบบที่ว่าค่าใช้จ่ายอะไรต่างๆ นอกเหนือจากการค่าผ่อนบ้านแล้ว คุณอาจไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่มอีกเลยก็ได้

7.รอจังหวะโปรโมชั่นเด็ด หลายโครงการมักจะจัดโปรโมชั่นคุ้มค่าประจำปีหรือรายไตรมาส ทั้งลดทั้งแจกทั้งแถม คุณต้องพิจารณาโปรโมชั่นอย่างละเอียดทุกรายการว่าเป็นสิ่งที่คุณต้องการและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านได้มากน้อยแค่ไหน ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ อะไรประหยัดได้ก็ควรประหยัด โดยล่าสุดทางค่ายพฤกษา เรียลเอสเตท ได้ออกโปรโมชั่นที่เรียกได้ว่าคุ้มค่ามาก ๆ สำหรับคนที่จองบ้านทุกโครงการของพฤกษา ตั้งแต่ 1 พฤษภาคมถึง 30 มิถุนายน 2565 รับสิทธิประโยชน์เกินคุ้ม มีทั้งส่วนลดเงินสด อยู่ฟรีก่อนผ่อนนานสูงสุด 24 เดือน ฟรีค่าส่วนกลางสูงสุด 36 เดือนและฟรีทุกค่าใช้จ่ายในวันโอนมากกว่า 8 รายการ กล่าวได้ว่า เพียงวางเงินจองและทำสัญญาตามเงื่อนไขแม้มีเงินสดไม่พอ สามารถใช้โปรโมชั่นร่วมกับบัตรเครดิตผ่อน 0% นาน 3 เดือนแถมแลกคืนเป็นแคชแบคได้อีก10%

ธนาคารที่ร่วมเป็นพันธมิตรกับพฤกษา ยังสนับสนุนโปรโมชั่นให้ลูกค้ายื่นขอกู้สินเชื่อได้ 100% เต็มของราคาบ้าน คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 0.69% ในปีแรก เริ่มผ่อนสบาย ๆ ล้านละ 1,000 บาทรายละเอียดเป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคารแบบนี้ลดภาระใช้จ่ายระยะยาวในช่วงแรกของการมีบ้านได้มากจริงๆ

Comments


ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page