ครม. อนุมัติให้มอบโบราณวัตถุ 20 รายการ คืนให้กัมพูชา เพื่อเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลงทวิภาคีระหว่างรัฐบาล และเพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและกัมพูชา
- Close Up Thailand
- 21 พ.ค. 2567
- ยาว 2 นาที
นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันที่21 พฤษภาคม 67 ครม. มีมติอนุมัติให้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมศิลปากร มอบโบราณวัตถุ 20 รายการ คืนให้ราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลงทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และกัมพูชา รวมทั้งเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและกัมพูชา และแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นภาคีที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในความตกลงทวิภาคีอย่างเคร่งครัด

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. 2543 กรมศุลกากรได้ตรวจยึดโบราณวัตถุเขมรที่นำเข้าโดยผิดกฎหมายซึ่งนำเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์ จำนวน 43 รายการ และต่อมากรมศิลปากรได้มีการตรวจสอบและมอบโบราณวัตถุคืนให้กัมพูชา ตามมติ ครม. (24 กุมภาพันธ์ 2552 และ 13 มกราคม 2558) แล้ว จำนวน 23 รายการ คงเหลือโบราณวัตถุอีก 20 รายการ ซึ่งกรมศิลปากรได้ตรวจสอบแล้วไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่มีถิ่นกำเนิดในกัมพูชาหรือไม่ เนื่องจากโบราณวัตถุทั้ง 20 รายการ เป็นโบราณวัตถุที่สามารถพบได้ในโบราณสถานทั้งในประเทศไทยและกัมพูชา คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ (13 มกราคม 2558) ให้กรมศิลปากรแจ้งผลการตรวจสอบดังกล่าวให้รัฐบาลกัมพูชาทราบ โดยหากรัฐบาลกัมพูชาประสงค์จะขอรับโบราณวัตถุดังกล่าวคืน ขอให้รัฐบาลกัมพูชาจัดส่งหลักฐานยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าโบราณวัตถุทั้ง 20 รายการ เป็นโบราณวัตถุที่มีถิ่นกำเนิดในกัมพูชา
ในครั้งนี้รัฐบาลกัมพูชาได้ส่งคำร้องเพื่อขอรับคืนโบราณวัตถุทั้ง 20 รายการ พร้อมทั้งส่งเอกสารและหลักฐานยืนยันสิทธิเรียกร้องในโบราณวัตถุดังกล่าว ซึ่งจากการตรวจสอบของกรมศิลปากร ยืนยันได้ว่า โบราณวัตถุทั้ง 20 รายการ เป็นวัตถุที่มีแหล่งกำเนิดในกัมพูชา วธ. จึงขออนุมัติมอบโบราณวัตถุ 20 รายการ คืนให้กัมพูชา ได้แก่
1. ส่วนองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ศิลปะเขมรแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18
2. ส่วนองค์พระพุทธรูปยืน ศิลปะเขมรแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18
3. ส่วนองค์เทวรูป ศิลปะเขมรแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18
4. ส่วนองค์เทวรูป ศิลปะเขมรแบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 18
5. ส่วนองค์พระพุทธรูปปางประทานอภัย ศิลปะเขมรแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18
6. ส่วนองค์เทวรูป ศิลปะเขมรแบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 17
7. กลีบขนุนรูปทวารบาล ศิลปะเขมรแบบบาปวน – นครวัด พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
8. กลีบขนุนรูปทวารบาล ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
9. กลีบขนุนรูปทวารบาล ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
10. กลีบขนุนรูปฤาษี ศิลปะเขมรแบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 17
11. กลีบขนุนรูปทวารบาล ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย – นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
12. กลีบขนุนรูปฤาษี ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย – นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
13. กลีบขนุนรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย – นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
14. กลีบขนุนรูปฤาษี ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
15. กลีบขนุนรูปพระยมทรงกระบือ ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
16. กลีบขนุนรูปพระวรุณทรงหงส์ ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
17. นาคปักรูปครุฑยุดนาค ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย – นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
18. นาคปักรูปครุฑยุดนาค ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย – นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
19. กลีบขนุนรูปเทพธิดายืนอยู่ในซุ้มใบระกา ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย – นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
20. กลีบขนุนรูปเทพธิดายืนอยู่ในซุ้มใบระกา ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย – นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
(อ่านมติครม.ประกอบ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอดังนี้
1. อนุมัติให้ วธ. โดยกรมศิลปากรมอบโบราณวัตถุ 20 รายการ คืนให้ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) เพื่อเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลงทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย (รัฐบาลไทย) และกัมพูชา รวมทั้งเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและกัมพูชา และแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นภาคีที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในความตกลงทวิภาคีอย่างเคร่งครัด
2. อนุมัติให้ วธ. โดยกรมศิลปากรดำเนินการขนส่งโบราณวัตถุ จำนวน 20 รายการ คืนให้กัมพูชา โดยเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าวจากเงินนอกงบประมาณ (เงินกองทุนโบราณคดี) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นการยกเว้นเงื่อนไขที่กำหนดในความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาในการต่อต้าน การเคลื่อนย้ายโดยผิดกฎหมายและการลักลอบขนข้ามแดนซึ่งสังหาริมทรัพย์ทางวัฒนธรรมและส่งคืนให้แก่ประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิด (ความตกลงฯ) ข้อ 4 วรรคสอง ที่กำหนดให้ค่าใช้จ่ายทั้งปวงอันเนื่องมาจากการส่งคืนและการส่งมอบสังหาริมทรัพย์ทางวัฒนธรรม ให้เป็นภาระของภาคีที่ร้องขอ ซึ่ง วธ. เห็นว่า การยกเว้นในเรื่องภาระของค่าใช้จ่ายในการส่งคืนสังหาริมทรัพย์ทางวัฒนธรรมไม่กระทบต่อสาระสำคัญของความตกลงทวิภาคีดังกล่าว และยังเป็น การแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยในการส่งคืนสังหาริมทรัพย์ทางวัฒนธรรมที่ถูกเคลื่อนย้ายจากกัมพูชาโดยผิดกฎหมาย และถูกนำข้ามแดนเข้ามาในประเทศไทย
3. มอบหมายกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อ 1.
สาระสำคัญ
เรื่องนี้สืบเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 2543 กรมศุลกากรได้ตรวจยึดโบราณวัตถุเขมรที่นำเข้าโดย ผิดกฎหมายซึ่งนำเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์ จำนวน 43 รายการและต่อมากรมศิลปากรได้มีการตรวจสอบและมอบโบราณวัตถุคืนให้ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) ตามมติคณะรัฐมนตรี (24 กุมภาพันธ์ 2552 และ 13 มกราคม 2558) แล้ว จำนวน 23 รายการ คงเหลือโบราณวัตถุอีก 20 รายการ ซึ่งกรมศิลปากรได้ตรวจสอบแล้วไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่มีถิ่นกำเนิดในกัมพูชาหรือไม่ เนื่องจากโบราณวัตถุทั้ง 20 รายการ เป็นโบราณวัตถุที่สามารถพบได้ในโบราณสถานทั้งในประเทศไทยและกัมพูชา คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ (13 มกราคม 2558) ให้กรมศิลปากรแจ้งผลการตรวจสอบดังกล่าวให้รัฐบาลกัมพูชาทราบ โดยหากรัฐบาลกัมพูชาประสงค์จะขอรับโบราณวัตถุดังกล่าวคืน ขอให้รัฐบาลกัมพูชาจัดส่งหลักฐานยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าโบราณวัตถุทั้ง 20 รายการ เป็นโบราณวัตถุที่มีถิ่นกำเนิดในกัมพูชา
ในครั้งนี้รัฐบาลกัมพูชาได้ส่งคำร้องเพื่อขอรับคืนโบราณวัตถุทั้ง 20 รายการ พร้อมทั้งส่งเอกสารและหลักฐานยืนยันสิทธิเรียกร้องในโบราณวัตถุดังกล่าว ซึ่งจากการตรวจสอบของกรมศิลปากร โดย “คณะกรรมการกำหนดเงินรางวัลสำหรับผู้เก็บได้ซึ่งโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน รวมทั้งตรวจพิสูจน์ กำหนดอายุสมัย กำหนดค่าทรัพย์สิน และประเมินราคาของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ สิ่งเทียมโบราณวัตถุ สิ่งเทียมศิลปวัตถุ” (รองอธิบดีกรมศิลปากรเป็นประธาน) ยืนยันได้ว่า โบราณวัตถุทั้ง 20 รายการ เป็นวัตถุที่มีแหล่งกำเนิดในกัมพูชา ดังนั้น กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จึงขออนุมัติมอบโบราณวัตถุ 20 รายการ คืนให้กัมพูชา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) พิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐบาลกัมพูชาได้ส่งคำร้องพร้อมทั้งเอกสารและหลักฐานยืนยันสิทธิเรียกร้อง ในโบราณวัตถุดังกล่าว และกรมศิลปากรได้ตรวจสอบแล้วว่าเป็นโบราณวัตถุที่มีแหล่งกำเนิดในกัมพูชา ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงสามารถพิจารณาอนุมัติตามที่ วธ. เสนอได้
รายละเอียดของโบราณวัตถุ 20 รายการ
ลำดับที่ 1 ส่วนองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ศิลปะเขมรแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18
ลำดับที่ 2 ส่วนองค์พระพุทธรูปยืน ศิลปะเขมรแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18
ลำดับที่ 3 ส่วนองค์เทวรูป ศิลปะเขมรแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18
ลำดับที่ 4 ส่วนองค์เทวรูป ศิลปะเขมรแบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 18
ลำดับที่ 5 ส่วนองค์พระพุทธรูปปางประทานอภัย ศิลปะเขมรแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18
ลำดับที่ 6 ส่วนองค์เทวรูป ศิลปะเขมรแบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 17
ลำดับที่ 7 กลีบขนุนรูปทวารบาล ศิลปะเขมรแบบบาปวน – นครวัด พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
ลำดับที่ 8 กลีบขนุนรูปทวารบาล ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
ลำดับที่ 9 กลีบขนุนรูปทวารบาล ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
ลำดับที่ 10 กลีบขนุนรูปฤาษี ศิลปะเขมรแบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 17
ลำดับที่ 11 กลีบขนุนรูปทวารบาล ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย – นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
ลำดับที่ 12 กลีบขนุนรูปฤาษี ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย – นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
ลำดับที่ 13 กลีบขนุนรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย – นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
ลำดับที่ 14 กลีบขนุนรูปฤาษี ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
ลำดับที่ 15 กลีบขนุนรูปพระยมทรงกระบือ ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
ลำดับที่ 16 กลีบขนุนรูปพระวรุณทรงหงส์ ศิลปะเขมรแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
ลำดับที่ 17 นาคปักรูปครุฑยุดนาค ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย – นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
ลำดับที่ 18 นาคปักรูปครุฑยุดนาค ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย – นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
ลำดับที่ 19 กลีบขนุนรูปเทพธิดายืนอยู่ในซุ้มใบระกา ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย – นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
ลำดับที่ 20 กลีบขนุนรูปเทพธิดายืนอยู่ในซุ้มใบระกา ศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนปลาย – นครวัดตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16 – 17
Comments