๑)การแบ่งงานกระชับครับ รัฐนาวาท่านนายกฯแพรทองธาร พร้อมเดินหน้าแล้ววันนี้
๒) นโยบายการคลัง ขณะนี้อาจยังไม่ชัดเจน เพราะขาดแม่ทัพใหญ่ที่สามารถชี้นำวิธีการนำสู่การขยายตัวของเศรษฐกิจ ที่มีเป้าร้อยละ ๕ โดยเฉพาะนโยบายการคลัง ด้านการใช้จ่าย และ รายได้ ด้านรายรับภาษีและอื่นๆ เพราะนโยบายการคลังยังไม่ลงตัวกับนโยบายการเงิน
เรื่องเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core inflation) ที่ต่ำเกินกว่าร้อยละ๒ (inflation targeting) ส่งผลให้ เศรษฐกิจไทยถดถอยเข้าสู่สภาวะเงินฝืด เพราะนโยบายการเงินที่ ไม่ชัดเจนเรื่องการปรับดอกเบี้ยนโยบาย(Policy rate) เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยนโยบาย ของ สหรัฐอเมริกาที่ขยับลดลง ค่อนข้างมีนัยสำคัญ การที่ธปท. (กนง.) ยังไม่ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยนโยบาย เกิดความไม่แน่นอนในตลาดการเงิน และ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และ ตลาดหนี้ .... เพราะมีภาพการจัดการนโยบายการเงิน-คลัง ที่ค่อนข้างสับสน แบบต่างคนต่างพายเรือคนละทาง
ผมเสนอว่า ท่านทั้งสองต้องรีบแก้ไข ให้นโยบายการคลัง-การเงิน มีการสอดประสานเชิงนโยบายที่ดีกว่านี้ ธปท. และ กนง. ควรจะยึดหลักวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศที่เคร่งครัดในการกำหนดนโยบายการเงิน (กนง.) ที่เหมาะสม ช่วยธุรกิจขนาดกลาง-ย่อม และรากหญ้าให้สามารถปรับตัวจากภาระหนี้สิน เข้าถึงสินเชื่อ ที่กำลังยากมาก ๆ ในปัจจุบัน
ผลการลดดอกเบี้ย นโยบายของ สรอ. ผมคิดว่า ธปท. (กนง) และกระทรวงการคลัง ต้องรีบออกนโยบาย ที่สอดประสานการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ การปรับดอกเบี้ยนโยบายของไทยลงจากร้อยละ ๒.๕ เป็น ๒.๐ ต่อปี สู่ค่าเฉลี่ยระยะยาวที่เหมาะสม (จากการวิเคราะห์ ข้อมูลในอดีต)
๓) ในการขับเคลื่อนระบบศก.ฐานราก รัฐบาลของท่านนายกแพรทองธาร มอบให้เป็น บทบาทของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง(กทบ.)ด้วยงบประมาณ สำหรับการเพิ่มศักยภาพของหมู่บ้านฯ (เรียกย่อๆว่า กองทุนฯ SML) จะช่วยผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจฐานรากให้ขยายตัวของรายได้ ชาวรากหญ้า ได้บ้างไม่มากก็น้อย
แม้ข้อใน ๒ เรายังขาดแม่ทัพฯในการฝ่าฟันอุปสรรคทางเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพที่ควร (Potential growth) แต่ในข้อ ๓ ท่านนายกรัฐมนตรีฯ ได้มอบภารกิจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(จิราพร สินธุไพร) ทีมีทีมสนับสนุนที่แข็งแกร่ง ได้ใช้ศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ผลักดันด้วยนโยบาย OTOP และ OFOS ของท่านนายกรัฐมนตรีอย่างเต็มที่ เป็นสิ่งที่ส่งผลดีในเชิงบวกตามมา
๔) ในรัฐบาลนี้ ยังมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้วยโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดในปี งบประมาณ ๖๘- อย่างมีนัยสำคัญที่เชื่อว่าน่าจะช่วยกระตุ้นศก.ฯได้ เป็นการต่อยอดจากการโอนเงินสด เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสที่เปราะบาง และ ผู้พิการฯ จำนวน ๑๔๕,๐๐๐ ล้านบาท และส่งผลได้ด้านการเพิ่มสวัสดิการของครัวเรือน ฯ และยัง โน้มน้าวให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจของครัวเรือนในภาคต่างๆภายในเดือน ก.ย.. -ธค. ๒๕๖๗ นี้
๕) ดอกเบี้ย MRR และ Lending rate น่าจะมีแนวโน้มลดลง ตามการปรับตัวดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. (รอการตัดสินใจของ MPC) ธนาคารพาณิชย์จะมีพลังในการสินเชื่อปล่อยกู้ ด้วยอัตรากดอกเบี้ย ที่ลดลงจากเดิม (แม้มีต้นทุนเงินฝากเท่าเดิม)ขนาดตลาดสินเชื่อขยายตัวใหญ่ขึ้น เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่จมดิ่งเข้าสู่จุดต่ำสุดของวัฏจักรธุรกิจ เข้าใกล้ศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ควรจะเป็น (Potential GDP)
ทั้งนี้ หลังเงินโอนสดเข้าสู่บัญชีของผู้รับประโยชน์ การมีการลงทุนด้วยกองทุน SML ในหมู่บ้านและชุมชนเมือง ร่วมกับดอกเบี้ยกู้ลดลง การเบิกจ่ายงบประมาณดีขึ้น การผลิตมีประสิทธิภาพ เพราะต้นทุนการเงิน ดอกเบี้ยลดลง พร้อมๆ กับขยับขึ้นของค่าจ้างที่ละน้อยๆ ตามนโยบายฯ ตลาดเงิน และ การประกันภัยในประเทศ การเดินเรือ เพื่อการส่งออก จะขยายตัว เพราะการที่ สรอ. ลดดอกเบี้ยนโยบาย พร้อมๆ กับ หลายประเทศ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลก ที่น่าจะค่อยๆ ปรับตัวไม่ตกต่ำกว่านี้
๖)การรบขนาดใหญ่ ยังไม่น่าเกิดในตะวันออกกลาง เลบานอน อิหร่าน ...หากอิสราเอลไม่รุกคืบ และแม้รัสเซีย เกณฑ์ ทหารเพิ่ม อีกแสนคน ทดแทนทหาร ที่เสียชีวิตในส่งครามกับยูเครน และตอบโต้กับการที่สหรัฐฯ มอบจรวดนำวิถีการรบพิสัยไกลให้ยูเครน เร็วๆนี้ การวิเคราะห์ ยังเชื่อว่า จะไม่เกิดสงครามใหญ่ตอนนี้ และหากอดีตประธานาธิบดี Trump ดำรงตำแหน่ง ได้น่าจะไม่มีสงครามใหญ่ ท่านน่าจะใช้การ เจรจาเป็นหลัก กับจีนด้านการค้า ผ่อนคลายข้อพิพาท ทางน่านน้ำในทะเลจีนตอนใต้ ด้วยการเจรจาโน้มน้าวให้รัสเซียยุติสงครามกับยูเครนโดยไม่ส่งอาวุธ เพิ่มให้ยูเครน และ ปรามนาโต้ อิสราเอล และอาหรับ ผ่าน ซาอุดิอาระเบียให้มีการเจรจาสันติภาพเท่าที่ทำได้ ....ถ้า เดโมแครทชนะ โอกาสเกิดสงครามมากกว่าหรือไม่ ? ยังคาดเดายาก ดังนั้น ตลาด การเงินโลก ประกันภัย และ โลหะมีค่า เช่นทองคำ จะไปทางใหนคงต้องดูเหตุการณ์ ต่อไปอย่างใกล้ชิด
๗) หากชั่งน้ำหนักสำหรับประเทศไทย เกมส์ในสภาฯที่มีพรรคประชาชนเป็นฝ่ายค้านหลัก น่าจะไม่มีอะไรที่จะยกมือล้มการเสนอพ.ร.บ. ของรัฐบาลได้ และมวลชน บนถนน น่าจะยังไม่มีเจ้ามือ เพราะมีการสมานฉันท์ในหมู่ผู้เคยเห็นตรงกันข้าม ที่หันมาร่วมรัฐบาลกัน ทำงานให้ประชาชน
ทางฝ่ายสถาบันทหาร น่าจะพอใจกับการเข้าสู่ตำแหน่งตามที่ สภากลาโหมเห็นควร (ฝ่ายการเมืองไม่แทรกแซง) ยกเว้น ทหารเรือ ที่ยังไม่ชัด การซื้อ อาวุธไม่มีอะไรติดขัดเพราะเป็นไปตามหลักการทางงบประมาณปกติ บนความจำเป็นในการป้องกันราชอาณาจักร ตามภาระกิจฯ (ยกเว้นเรือดำน้ำยังไม่ชัดว่าจะจบอย่างไร ) จึงไม่น่ามี ความยุ่งยากทางการเมืองและอำนาจ ในยุคท่านนายกฯแพรทองธาร
การบริหารของท่าน นายกฯ แพรทองธาร อีก อย่างน้อย สามปี จะนำประเทศไทย ออกจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) และ เข้าเป็นสมาชิกของประเทศ พัฒนา แล้ว (OECD) อย่างน่าภูมิใจ!!!
ดร.กิตติ ลิ่มสกุล
นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส
และนักวิชาการด้านเศรษฐกิจมหภาค พรรคเพื่อไทย
หมายเหตุ บทความพิเศษ เขียนโดย ดร.กิตติ ลิ่มสกุล
Comments