“แบงก์ชาติคำนวณว่า เศรษฐกิจปีหน้าจะโต4.4 % อยู่บนสมมติฐานมีโครงการดิจิตลวอลเลต เพราะหากไม่มี DGW เศรษฐกิจก็จะโตตามธรรมชาติ คือ 2.8 % หรือไม่เกิน 3% ซึ่งยังซึม ยังไม่ฟื้น ไม่เกิดการจ้างงาน”

มุมมอง ศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของไทย และยอมรับเป็น นักเศรษฐมิติระดับโลก มีประสบการณ์บรรยายด้านเศรษศาสตร์ ในระดับปริญญาตรี โท เอก ในมหาวิทยาลัยชั้นนำ ทั้งไทย(จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย) และปะเทศญี่ปุ่น(ม.นาโกยา)มีลูกศิษย์สำเร็จเป็นผู้บริหารในองค์กรด้านการเงิน การคลังชั้นนำในหลายประเทศ
ออกมาเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายดิจิตอลวอลเลต หรือ DGW ที่มีผลผลต่อเศรษฐกิจในปี2567 ไว้น่าสนใจ CLOSE-UP THAILAND จึงขอนำรายงานการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการครั้งนี้ นำมาเผยแพร่ เพื่อสร้างองค์ความรู้ในเชิงวิชาการแบบไม่ตัดตอน ลองไปติดตาม
“การศึกษานี้ สนับสนุนนโยบาย DGW แต่เสนอให้ เดินตามข้อเท็จจริงด้านรายรับภาษี และ รายได้ อื่น ของรัฐบาล การปรับ โครงสร้างของรายจ่าย ตามความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ ให้มากขึ้นและลดรายจ่ายอื่นๆ ที่ ไม่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะทำให้รัฐบาลสามารถเดินหน้าโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ อย่างถูกต้องตามความต้องการเงินสดของครัวเรือน และ รัฐบาลต้องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ของเศรษฐกิจไทย ในระยะกลาง- ยาว
ทั้งนี้ ผลกระทบของ นโยบายการคลัง (DGW และ นโยบายอื่นๆ) Growth Accounting 5% =3% (แนวโน้มอดีต) + 1% (บริโภค) + 0.7% (ผลจากการใช้จากทุน ) +0.3 % (ผลจากการใช้ แรงงาน) + 0.5 % (total factor productivity ผลิตภาพมวลรวม จากการเพิ่มประสิทธิภาพของทุน และ ทักษะ แรงงาน ฝีมือ) “
การกระตุ้น ด้วยนโยบายการคลังมีผลต่อการใช้จ่ายด้านอุปสงค์ (Aggregate demand) เริ่มจากการบริโภค (HH consumption) แต่ผลของการขยายตัวของการบริโภคจะส่งผลต่อการ ลงทุน (Investment) และ การส่งออกสุทธิ (Export – Import) และการเปลี่ยนแปลงสินค้าคงคลัง
การกระตุ้นด้านอุปสงค์และการ รวมตัวของ เกษตรกร ภาคเกษตร ผู้ผลิต ภาคเมือง และ อุตสาหกรรม โน้มนำสู่การปรับตัวด้านอุปทาน (Aggregate supply) โดยเฉพาะการปรับวิถีการผลิต ด้วยเครื่องจักร เครื่องมือสมัยใหม่ รวมทั้งครัวเรือนภาคเมือง ลงทุนติดตั้ง Solar Cell system เพื่อประหยัดพลังงาน นับเป็นการลงทุน และ ปรับทักษะ ประชาชนไปพร้อมกัน หากรัฐบาลจะ รณรงค์ ในเรื่องการเพิ่มผลิตภาพ ทั้งระบบ (overall productivity improvement) ➔ Total Factor Productivity การเพิ่มของผลิตภาพมวลรวม
รัฐบาล จำเป็นต้องปรับโครงสร้างการใช้จ่าย ที่ มีสัดส่วนของ รายจ่ายประจำ (current expenditure) ที่สูงมากเกินไป ในขณะที่ สัดส่วน รายจ่ายเพื่อการลงทุนต่ำ (investment expenditure) โดยเฉพาะการใช้จ่ายเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (econ compensation and grants) ดังนั้น หากจะ ขับเคลื่อน ระบบเศรษฐกิจ ให้ ออกจาก จุดต่ำสุดของวัฏจักรธุรกิจ จำเป็นต้องมีการใช้จ่าย ในรูป การ โอน (income transfer/grant) จะเป็นการเพิ่มสัดส่วน หนี้สาธารณะ หรือไม่ คำตอบคือไม่ เพราะ หากการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วย DGW จะทำให้ GDP (in real terms) เพิ่มและส่งผลให้ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP (in current price) ลดลง
ลองไปติดตามที่มาข้อเสนอในเชิงวิชาการแบบละเอียด...!!!ฉากทัศน์เศรษฐกิจ























โดย
CLOSE-UP THAILAND
: สื่อเพื่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน SDGs -ESG
Comments