
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เผยอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่
.
ทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณ 990-1,320 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 700 - 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย) มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 60 - 80 ซม.
.
พร้อมประสาน 10 จังหวัด (อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ) รวมถึงกรุงเทพมหานคร ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ และแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เฝ้าระวังระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงเตรียมพร้อมขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงให้พ้นจากแนวน้ำท่วม

ทั้งนี้ กรมชลประทาน เตือน!!! น้ำเหนือเพิ่มขึ้น เขื่อนเจ้าพระยา ปรับเพิ่มการระบายน้ำ สถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้น หลังมีฝนตกบริเวณพื้นที่ตอนบน กรมชลประทาน เตรียมปรับเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา แต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายเขื่อน นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา มีฝนตกในพื้นที่บริเวณตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา จึงทำให้ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากการคาดการณ์ในอีก 1-3 วันข้างหน้า จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานี C.2 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 900-1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 700-1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 60-80 เซนติเมตร ได้แก่ บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย) ทั้งนี้ หากมีการปรับเพิ่มการระบายน้ำอีกครั้ง กรมชลประทาน จะประกาศแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบในระยะต่อไป

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 22 กันยายน 2566 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 19/2566 ลงวันที่ 20 กันยายน 2566 แจ้งเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงวันที่ 22 – 26 กันยายน 2566 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสถานการณ์น้ำ พบว่ามีฝนตกหนักและตกสะสมในภาคเหนือ และภาคกลาง คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำไหลผ่าน
สถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 900 – 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังและลำน้ำสาขาไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณ 90 - 120 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ในเกณฑ์ 990 – 1,320 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นจึงมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 700 – 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอก
คันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.60 – 0.80 เมตร
2. ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมชลประทาน ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ติดตั้งบริเวณบ้านนาแบก ตำบลเวียงคำอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันเกิดจากปริมาณน้ำที่ท่วมขังเนื่องจากสถานการณ์
ฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง
3. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)
ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อติดตามการบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคใต้และความก้าวหน้า
ผลการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน รวมทั้งโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยรองเลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน มักประสบ ปัญหาด้านอุทกภัยเป็นประจำเนื่องจากปริมาณฝนตกหนักในพื้นที่ รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุนสูงในบางครั้ง สาเหตุจากการไหลของน้ำที่ผ่านเส้นทางน้ำหลากถูกเปลี่ยนทิศทางหรือมีสิ่งกีดขวางจากการก่อสร้างต่าง ๆ เป็นผลมาจากการขยายตัวของชุมชนและการใช้ป ระโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม ขาดการควบคุมและไม่คำนึงถึงทางระบายน้ำตามธรรมซาติ ทำให้มีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในเกณฑ์สูง สทนช. ได้เดินหน้าขับเคลื่อนการจัดทำผังน้ำให้ครบ 22 ลุ่มน้ำครอบคลุมทั่วประเทศ ปัจจุบัน ดำเนินการไปแล้ว 8 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำแม่กลองลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำซี ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำปาสัก ลุ่มน้ำท่าจีน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาจัดทำผังน้ำ 14 ลุ่มน้ำ ซึ่งผังน้ำจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสนับสนุนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมและภาวะน้ำแล้ง เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพิจารณาความเหมาะสมการพัฒนาที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรมสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมทั้งการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน กำหนดพื้นที่ซึ่งควรสงวนไว้ให้เป็นทางน้ำหลากเพื่อไม่ให้เกิดการกีดขวางการไหลของน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สำหรับผลการดำเนินงานการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก อยู่ระหว่างการแก้ไขรายงานฉบับสุดท้าย เพื่อเตรียมนำเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.) ให้ความเห็นชอบ และประกาศใช้ต่อไป
Comments