(นายกิตติ ทิศสกุล ประธานเครือข่ายธุรกิจคุณธรรม)
"รัฐบาลคงมีข้อมูลเพียงพอ ที่ต้องตัดสินใจแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงออกนโยบายการแจก DGW(Digital Wallet) เพราะต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเร่งด่วน แต่เนื่องจากการจะแจกเงินสดเข้าระบบไปเลย โดยจะต้องกู้วงเงินมาแจก ซึ่งอาจทำไม่ได้ผิดกฎหมายการคลัง ที่วงเงินกู้หนี้สาธารณะต้องไม่เกิน 70%ของ GDP จึงต้องหาวิธีอื่น
รัฐบาลมองวิกฤติเป็นโอกาส โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมาช่วย
สร้างเป็นเงิน DGW มาแจกแล้วรัฐบาลค้ำประกันเงิน DGW แทน ซึ่งคงคาดว่าระบบเงินดิจิตอลจะสามารถไหลเวียนอยู่ในระบบการเงินในแพลตฟอร์มของรัฐบาล และไม่ถูกแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดทันที ยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยที่รัฐบาลคาดว่าจะใช้งบประมาณน้อยที่สุด และคุ้มค่ามากที่สุด ถ้าเป็นตามที่คาดอาจจะกู้เงินน้อยกว่าที่คาด และจัดเก็บภาษีได้เกินเป้าของรัฐบาล การจัดสรรนำเอาเงินงบประมาณที่เหลือจ่ายมาใช้ กันงบประมาณรายปี ก็อาจทำให้ใช้งบประมาณไม่ถึงสี่แสนห้าหมื่นล้านตามที่คาดไว้
สิ่งที่รัฐบาลคาดว่าจะได้
1.การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจปทท.สู่การเป็นระบบดิจิตอล
2.รัฐจะสามารถดึงเอาร้านค้ามาอยู่ในระบบฐานภาษี
3.เกิดการขยายตัวของ GDP
4.ระบบฐานข้อมูลของรัฐ(Big Data)
5.การตรวจสอบที่มาทึ่ไปของเส้นทางการเงิน ช่วยแก้ปัญหาเรื่องคอรัปชั่น
ห้าเหตุผลหลักที่ทำให้รัฐบาลตัดสินใจออกนโยบายมาครั้งนี้โดยเฉพาะ แล้วไปปรับแก้กฎหมายต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัด เช่น พรบ.การเงิน พรบ.เงินดิจิตอล เป็นต้น เพื่อสามารถใช้ DGW กระตุ้นเศรษฐกิจของปทท.
ส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยแจกเงินดิจิตอลจะสามารถบรรลุได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ของรัฐบาลหรือไม่?
มีคำถามคาใจที่รัฐบาลต้องตอบคำถาม มันจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงไหม หรือจะเป็นเหมือนแบบแจกเงินคนละครึ่ง หรือแจกเงินผ่านกระเป๋าตังค์ที่ผ่านมา? มันจะไปช่วยกลุ่มธุรกิจทุนใหญ่ไหม? แล้วคนบางกลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิละจะทำอย่างไร? ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่าย เพราะปชช.ต้องเกิดการเรียนรู้ เข้าใจ มองภาพเหมือนที่รัฐบาลมอง ถ้าเป็นตามแผนที่วางไว้ก็ต้องปรบมือให้รัฐบาล แต่ถ้าไม่รัฐบาลก็ต้องมีแผนสำรองเพราะวงเงินที่กู้มาไม่ใช่น้อยๆ หนี้ที่เกิดขึ้นจะตกภาระแก่ลูกหลาน รัฐบาลต่อๆไป ต้องมีคำตอบให้ปชช.
การตัดสินใจบนความเสี่ยงทั้งเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ เศรษฐกิจโลกที่ฝันผวน สงครามที่เกิดขึ้นตอนนี้
ประเทศไทยพร้อมรับความเสี่ยงแค่ไหน?
การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลต่างๆ EEC รถไฟความเร็วปานกลาง การกระตุ้นการท่องเที่ยว Land Bridge การให้สิทธิพิเศษการลงทุน จะมีแรงพอสำหรับประเทศไทยที่จะสามารถพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศ ยืนอยู่บนขาของตัวเองได้หรือไม่อย่างไร? กรอปกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาพลังงานค่าใช้จ่ายค่าครองชีพปชช.ที่มากขึ้น ธรรมาภิบาลของรัฐบาลจะมีดีพอหรือไม่กับศรัทธาของปชช.? ภาวะการเปลี่ยนแปลงการลงทุนอุตสาหกรรมภายในปท. การย้ายฐานการผลิต การแสวงหาการลงทุนในอุตสาหกรรมโลกใหม่ ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ง่ายเลยที่จะแก้ได้ทันทีทันควัน และฝีมือการบริหารของรัฐบาลที่ต้องดีจริง
สิ่งต่างๆหล่านี้คือความกังวลของคนไทย เพราะถ้าพลาดมา พวกเราต้องรับผิดชอบไปด้วยกัน
เราคงต้องมาดูกันติดตามกันต่อไป ภาวนาให้ทุกอย่างที่ทำสำเร็จ และเอาใจช่วย รัฐบาลต้องทำให้คนไทยทุกคนต้องร่วมมือกัน มีวิสัยทัศน์และหัวใจเป็นหนึ่งเดียวที่จะก้าวเดินต่อไป เพราะนี่คืออนาคตของปทท. โอกาสของคนไทย
ทั้งหมดเป็นอีกหนึ่งมุมมองส่วนตัวครับ
กิตติ ทิศสกุล
ที่ปรึกษา สสทน.ชร.
#เจียงรายแต้ๆ
Comments