โดยโครงการ “โคล้านครอบครัว” หรือ "โคล้านตัว(เดิม)ถือเป็นแนวคิดของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน นานแล้วแต่ยังไม่ได้ถูกนำไปสู่การปฏิบัติ และพรรคเพือไทยตั้งเป้าเปิดโครงการดังกล่าว โดยนายสมศักดิ์ ภายหลังย้ายสังกัดเพื่อไทย แต่เสือปืนไว "อนุชา นาคาสัย"คนกันเองชิงตัดหน้าเปิดนำร่องที่ชัยนาท
วันที่ 30 มีนาคม 2566 . ณ หอประชุมศรีโพธิ์สุข โรงเรียนศึกษาพิเศษชัยนาท ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีกำกับดูแลสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) เป็นประธานเปิดงาน “สร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างชาติมั่นคง” ภายใต้โครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน จัดโดย สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) โดยมี นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นายนที มนตริวัต ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท นายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการ สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ฯ เข้าร่วมงาน นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีกำกับดูแลสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) กล่าวว่า การจัดงาน “สร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างชาติมั่นคง” ครั้งนี้ แสดงให้เห็นผลสำเร็จการดำเนินงานของสมาชิกกองทุน ฯ ทั่วประเทศ โดยได้ดำเนินการในพื้นที่ 4 ภูมิภาค 14 กลุ่มจังหวัด เพื่อเป็นเวทีแสดงผลงานและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างสมาชิกกองทุน ฯ และประชาชนที่สนใจ ส่งต่อแนวคิดสู่กองทุนหมู่บ้าน ฯ ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ เพื่อพัฒนาทักษะโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในบริบทของแต่ละพื้นที่ เพื่อนำไปต่อยอดและพัฒนาการบริหารงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้เกิดความเข้มแข็งต่อไป โดยการจัดกิจกรรมในวันนี้ ถือเป็นการเปิดตัวครั้งแรก มีสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน จาก 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง ร่วมงาน ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมเสวนากองทุนหมู่บ้านต้นแบบ "ทำแล้ว ทำง่าย ทำได้...ไม่ยาก" โดยกองทุนหมู่บ้านต้นแบบประจำจังหวัดชัยนาท ได้แก่ สถาบันการเงินชุมชนบ้านวังหัวเรือ กองทุนหมู่บ้านวังหัวเรือ ตำบลวังตะเคียน อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท, กิจกรรม Upskill เรื่อง “โครงการโคล้านครอบครัว” จากผู้เชี่ยวชาญ, กิจกรรม Business Matching เพื่อต่อยอดโอกาสทางการค้า และกิจกรรมการจัดแสดงนิทรรศการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อนำความรู้ที่ได้กลับไปพัฒนาชุมชนเมืองของตน นายอนุชา กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากของประเทศมาโดยตลอด โดยได้สนับสนุนให้เกิดกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่มีกระจายอยู่ทุกหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 79,610 แห่ง มีสมาชิกทั่วประเทศกว่า 13 ล้านคน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยการมุ่งเน้นให้กองทุนหมู่บ้านเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน เพื่อสร้างอาชีพ สร้างงาน และรายได้ให้คนในชุมชน ตามอัตลักษณ์และความโดดเด่นของแต่ละชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกพื้นที่ “ปัจจุบันรัฐบาลยังคงเดินหน้าสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พี่น้องประชาชนทั่วประเทศหลุดพ้นจากความยากจน และช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินที่ประชาชนหลายครัวเรือนประสบอยู่ ภายหลังจากได้รับผลจากกระทบสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 และสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งนี้ พบว่าสมาชิกกองทุน ฯ ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกร แม้จะได้รับการสนับสนุนเงินทุนเพื่อจัดทำโครงการที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์ สมาชิกหลายครัวเรือนยังไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ บางรายยังมีปัญหาหนี้สิน ในช่วงที่ตนกำกับดูแลกองทุนหมู่บ้าน ฯ จึงได้มีการหารือถึงแนวทางให้ความช่วยเหลือ และทำให้ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืน จนกระทั่งเกิดเป็นโครงการ “โคล้านครอบครัว” ที่ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการนี้เป็นที่เรียบร้อย จากการทดลองโครงการนำร่องที่จังหวัดสุโขทัย ประกอบกับได้ศึกษาค้นคว้ามาเป็นระยะเวลานาน ผมมั่นใจว่าการทำปศุสัตว์ เช่น การเลี้ยงโค จะเป็นทางออกที่ช่วยให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น จนกระทั่งสามารถปลดหนี้ มีเงินเก็บ และร่ำรวยได้ในอนาคต เพราะโคเลี้ยงไม่ยาก กินแต่หญ้า เบื้องต้นทางกองทุน ฯ จะให้การสนับสนุนเงินทุนสำหรับจัดหาโค 2 ตัว/ครัวเรือน เป็นเงินจำนวน 50,000 บาท ภายใน 1 ปีโคออกลูก สามารถทำเงิน ปลดหนี้ได้ ปีต่อ ๆ ไป จะมีลูกหลานเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ หากเลี้ยงดีๆ พี่น้องกองทุน ฯ อาจมีโอกาสร่ำรวย ได้จับเงินล้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางรัฐบาลคาดหวังให้เศรษฐกิจฐานรากเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น มีกำลังซื้อที่จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ในอนาคต” นายอนุชา กล่าว สำหรับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลา 21 ปี ที่ผ่านมามีพัฒนาการในหลาย ๆ ด้านที่ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยกองทุนหมู่บ้าน ฯ เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการลงทุนในการสร้างอาชีพ สร้างงาน และรายได้ของประชาชนในชุมชน มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการออมของประชาชน จัดระบบสวัสดิการของหมู่บ้านและชุมชนเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางสังคม ปัจจุบันมีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วประเทศ จำนวน 79,610 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 75,000 กองทุน กองทุนชุมชนเมือง จำนวน 3,872 กองทุน และกองทุนชุมชนทหาร จำนวน 738 กองทุน มีเงินทุนหมุนเวียนกว่า 3 แสนล้านบาท จำนวนสมาชิกประมาณ 13 ล้านคน
תגובות