"สรุป...แบบไม่สรุป" คือนิยามคำตอบที่ผู้ประกอบการ และกลุ่มประมงเรือเล็ก และกลุ่มอื่นๆได้รับทุกครั้งที่เข้าร่วมกับเวทีของทางจังหวัดระยอง
เพราะสุดท้ายใคร ถืออำนาจตัดดสินใจ?
ในเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดระยองยืนยันต่อสาธารณะในหลายเวทีว่า "จะนำบทเรียนของเหตุการณ์ปี2556"มาใช้เป็นโมเดล แต่จะแก้จุดอ่อนของปี 2556 ใน3 เรื่องคือ 1.เปิดการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มมากขึ้น 2..ดำเนินการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนล่วงหน้าไปก่อนไม่ต้องรอผลสรุปพร้อมกัน 3.ดูแลการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบให้คุ้มค่า สมเหตุสมผลความเป็นจริง
คือ ธงที่ชัดเจนมากของบุคคลที่ถือว่าเป็นเบอร์1 ของจังหวัดระยอง!!!
ทว่าผ่านมากระบวนการเร่งเยียวยายังมีคำตำหนิจากผู้ประกอบการ และกลุ่มต่างๆที่ได้รับผลกระทบ
อย่างไรก็ตาม จากการประชุมหลายรอบที่ผ่านมา มีข้อสรุปการเจรจาระหว่างผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด และตัวแทนจากบริษัท SPRC นายจิระศักดิ์ มหาสุคนธ์ ผู้จัดการบริษัท SPRC จำกัด(มหาชน) เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2565 ณ ห้องประชุมทรายแก้วบีช รีสอร์ท ระดับหนึ่ง ดังนี้
"... ตัวแทนบริษัท SPRC ได้กล่าวขอโทษสำหรับเหตุการณ์น้ำมันรั่วลงทะเลระยอง ทำให้เกิดผลกระทบหลายๆ ด้าน ทั้งในด้านการท่องเที่ยว ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์น้ำในทะเล การประกอบอาชีพต่างๆ ในพื้นที่เกาะเสม็ด หาดแม่รำพึง และพื้นที่ใกล้เคียง แต่เมื่อเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว ทางบริษัทก็ยินดีที่จะชดใช้เป็นค่าเยียวยาแก่ชาวบ้าน ชาวประมง และผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด ตามหลักฐานและเอกสารที่ยื่นร้องเรียนมา โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเช่นเดียวกับเมื่อปี 2556 ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้เห็นชอบให้ชดใช้เป็นเวลา 3 เดือน เช่นเดียวกับ ปตท. รวมถึงจะดูแลสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรต่าง ๆ และระวังไม่ให้เกิดปัญหานี้ซ้ำขึ้นอีก
...ทางด้านผู้ประกอบการ นายกสมาคมท่องเที่ยวเกาะเสม็ด ได้แจ้งขอการเยียวยาเป็นไปใน 3 ระยะ คือ
1. ระยะสั้นเร่งด่วน ขอให้พิจารณาชดเชยในช่วงเวลลา 8 วันที่เกิดเหตุที่ทางลูกค้ายกเลิก cancel หรือเลื่อนการเข้าพักในช่วงตรุษจีน ซึ่งขอเป็นในระยะเร่งด่วน
2.ระยะกลาง คือขอให้ชดเชยรายได้เป็นเวลา 3 เดือน เช่นเดียวกับทางผู้ว่าราชการฯจังหวัดที่เห็นสมควร โดยมี ปี 2556 เป็นโมเดล และ
3.ระยะยาว คือจะขอให้ทางบริษัท ฟื้นฟู ดูและทรัพยากรทางทะเล ใต้ทะเล สัตว์น้ำต่าง ๆ ให้คืนกลับสู่สภาพเดิม เพราะเป็นห่วงในเรื่องของการใช้สารเคมีโปรยลงทะเล ทำให้น้ำมันตกลงสู่ใต้ทะเล ซึ่งเป็นห่วงว่าจะมีผลต่อสัตว์น้ำและการตกตะกอนของน้ำมัน เกรงว่าในช่วงมรสุม คลื่นลมจะตีตะกอนเหล่านี้ขึ้นมา สู่ท้องทะเลด้านบน หรือชายหาด จึงขอให้ทางบริทษัทดูแลทะเลลระยองต่อเนื่องระยะยาว จนกว่าจะแน่ใจว่า ไม่มีผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทุกอย่างแล้วเป็นปกติ
...นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการ เสนอให้ทางบริษัท จัดกิจกรรม โปรโมชั่นต่างๆ โปรโมทเกาะเสม็ด แจกคูปอง เวาเชอร์ต่างๆ ฟรี หรือมีส่วนลด ทำให้คนกลับมาเที่ยวเกาะเสม็ด / PR โฆษณาให้คนรู้ว่า "เกาะเสม็ดเที่ยวได้แล้ว" "เกาะเสม็ดไม่มีน้ำมัน" ออกสื่อโฆษณาต่างๆ ให้ทั่ว เพราะในขณะนี้ ยังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่าน้ำมันไม่ได้เข้าเกาะเสม็ด และไม่มั่นใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวเพราะไม่มั่นใจในอาหารทะเล และน้ำทะเลว่าจะเล่นได้หรือไม่ รวมถึงยังมีผู้ประกอบการขอให้ทางบริษัทดูแลและป้องกันการส่งท่อน้ำมันในทะเล เพื่อไม่ให้เกตุการณ์นี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก
...ทางตัวแทนบริษัท SPRC ยินดีรับข้อเสนอต่างๆ จากผุ้ประกอบการ พร้อมทั้งจะนำข้อสรุปต่างๆ เข้าที่ประชุมใหญ่ของบริษัท และจะรีบดำเนินการจ่ายชดเชยเยียวยาให้กับชาวบ้านและผู้ประกอบการโดยเร็วที่สุด การเจรจารทั้งสองฝ่ายจบลงด้วยดี เพราะทั้งผู้ประกอบการและตัวแทนบริษัทเห็นควรไปในทิศทางเดียวกัน และเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะดำเนินการให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะเดินหน้าไปทำเรื่องอื่นๆ ต่อไป.."คำบอกเล่าจากผู้เข้าร่วมประชุม
Comentarios