top of page

โครงการนำร่องผลิตไฮโดรเจนสีเขียวของซิโนเปค เริ่มดำเนินการ นำการพัฒนาพลังงานไฮโดรเจนสีเขียวของจีน


บริษัท ไชน่า ปิโตรเลียม แอนด์ เคมิคอล คอร์ปอเรชัน (China Petroleum & Chemical Corporation) หรือซิโนเปค (Sinopec) (HKG: 0386) ประกาศว่าโครงการนำร่องผลิตไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen Pilot Project) ("โครงการ") ซึ่งสร้างโดยบริษัทในเมืองคู่เชอ ของจังหวัดอัคซู เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ได้เริ่มดำเนินการแล้ว การดำเนินการอย่างเป็นทางการของโรงงานซึ่งใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฮโดรเจนสีเขียว นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการสำรวจเทคโนโลยีของซิโนเปคเพื่อผลิตไฮโดรเจนที่สะอาด ขณะที่โรงงานดังกล่าวช่วยเหลือจีนในการเปลี่ยนไปสู่ระบบพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนมากขึ้น

โครงการเมกะโปรเจกต์นี้นำโดยนิว สตาร์ คอมปานี (New Star Company) ของซิโนเปค เป็นโครงการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฮโดรเจนที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นโครงการแรกในประเทศจีนที่มีการติดตั้งคอมเพล็กซ์ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สายส่งไฟฟ้าและแปลงกระแสไฟฟ้า ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับการผลิตไฮโดรเจนโดยวิธีแยกน้ำด้วยไฟฟ้า การจัดเก็บและขนส่งไฮโดรเจน และสนับสนุนการผลิตเสริม

ไฮโดรเจนสีเขียวผลิตโดยโรงงานที่ขับเคลื่อนด้วยแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ซึ่งช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตทั้งหมดให้เหลือน้อยที่สุด โครงการใช้ประโยชน์จากความมั่งคั่งของทรัพยากรเซลล์แสงอาทิตย์ในคู่เชอเพื่อให้ได้ไฮโดรเจนสีเขียว 20,000 ตันต่อปีโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อทำให้น้ำเป็นอิเล็กโทรไลต์ พร้อมด้วยความสามารถในการกักเก็บไฮโดรเจน 210,000 ลูกบาศก์เมตร และระบบส่งไฮโดรเจนความจุ 28,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง

ในฐานะที่เป็นโครงการสาธิตที่ทำหน้าที่ปูทางใหม่สำหรับการกลั่นไฮโดรเจนสีเขียวและเป็นต้นแบบสำหรับการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวในจีน โครงการดังกล่าวได้จัดหาไฮโดรเจนให้กับท่าเหอ รีไฟนิง แอนด์ เคมิคอล (Tahe Refining & Chemical) ของซิโนเปคเพื่อกำจัดไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ใช้สำหรับการผลิตไฮโดรเจน ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 485,000 ตันต่อปี

ด้วยการมุ่งเน้นไปที่การขนส่งที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนและการกลั่นไฮโดรเจนสีเขียว ซิโนเปคตั้งเป้าที่จะเปิดตัวตัวเองเพื่อเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแห่งใหม่ที่บุกเบิกนวัตกรรมการผลิตไฮโดรเจนในจีน อำนวยความสะดวกให้จีนและประเทศอื่น ๆ บรรลุเป้าหมายคาร์บอนต่ำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า สถานีผลิตไฮโดรเจนจากน้ำด้วยกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสที่อาศัยเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน (PEM) ขนาดเมกะวัตต์ที่พัฒนาเองของซิโนเปคได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยมีความสามาร

Комментарии


ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page