top of page

"คุณหญิงกัลยา"เดินหน้าสร้างศูนย์การเรียนรู้ชลกรต้นแบบ

โดย 20 วิทยาลัยเกษตรฯ ประกาศความพร้อมเป็น Change Agent เคลื่อนโครงการบริหารจัดการน้ำฯ สู่ชุมชน คุณหญิงกัลยาปลื้ม ดันชลกรสู่มาตรฐานสากล สร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้ประเทศชาติ

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิด โครงการสานพลังสร้างสรรค์ “ชลกร” สู่นวัตกรรมการจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริ พร้อมด้วยนายสุวัฒน์ เข็มเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายสมปอง ทองศรี ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดยโสธร และผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั้ง 20 แห่งทั่วประเทศ ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร จังหวัดยโสธร

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำ กล่าวว่า โครงการสานพลังสร้างสรรค์ “ชลกร” สู่นวัตกรรมการจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริหารของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีและวางแผนการดำเนินงานหลักสูตรชลกรอย่างเป็นระบบให้มีความสอดคล้องและต่อเนื่อง เป็นการระดมความคิดพร้อมเสนอแนวทางการพัฒนาให้สมบูรณ์และเกิดความยั่งยืนต่อไป

โดยการจัดงานในครั้งนี้ได้รับการตอบรับจากผู้บริหารวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีจำนวน 20 แห่งทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ พร้อมได้ประกาศเจตนารมณ์และความพร้อมที่จะเป็น Change Agent หรือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นหัวจักรในการขับเคลื่อนโครงการบริหารจัดการน้ำฯ ขยายผลสู่ชุมชนต่อไป ซึ่งการพัฒนาองค์ความรู้ด้านบริหารทรัพยากรน้ำถือเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เพราะวันนี้ประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งที่ถูกประเมินว่า มีความเสี่ยงในลำดับต้น ๆ ของโลกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม น้ำแล้ง ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยไม่มีมีปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำ แต่มีปัญหาเรื่องประชาชนขาดความรู้ และความเข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ

“รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่วันนี้เป็นอีกก้าวย่างที่สำคัญของโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวประราชดำริ ได้เปิดหลักสูตรชลกร มาแล้วทั้งสิ้น 2 รุ่น รวมจำนวน 341 คน ซึ่งในปีนี้จะจบการศึกษาไปกว่า 200 คน เชื่อมั่นว่าจะนำความรู้ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในชุมชนของตัวเอง และองค์กรที่เข้าไปทำงาน ซึ่งขณะนี้มีหลายหน่วยงาน และองค์กร เช่น กทม.ที่แสดงความพร้อมและสนใจรับผู้จบหลักสูตรชลกรเข้าทำงาน”ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าว

ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าวต่อว่า โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ได้ขับเคลื่อนมาจนก้าวสู่ปีที่ 4 สามารถขยายองค์ความรู้ทั้งทางทฤษฎี และปฏิบัติ ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำในระดับสากลสู่วิทยาลัยเกษตรเทคโนโลยีและประมง โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน ให้สามารถพึ่งการจัดการน้ำโดยชุมชนเองได้ เพราะเรื่อง “น้ำ” ไม่ใช่เฉพาะแต่เกษตรกรเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์ แต่รวมถึงผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ และเศรษฐกิจประเทศก็จะได้ประโยชน์อย่างมหาศาลเช่นกัน

ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีที่เข้ามาเป็นเครือข่ายสนับสนุนตั้งแต่เริ่มขับเคลื่อนโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนฯ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเมื่อเยาวชนไทย หรือคนไทยมีองค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำที่เป็นมาตรฐานในระดับสากลแล้วเชื่อว่าจะสร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติอย่างแน่นอน

ดร.ปริเวท วรรณโกวิท ผู้จัดการโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ กล่าวว่าโครงการสานพลังสร้างสรรค์ “ชลกร” สู่นวัตกรรมการจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำรินี้ เป็นโครงการอบรมระดับผู้บริหารเพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาและอุปสรรคของหลักสูตรชลกรเพื่อสร้างเสริม ต่อยอด และพัฒนาให้เกิดคุณภาพใหม่ ซึ่งโครงการนี้นับว่าประสบความสำเร็จเพราะได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากผู้บริหารวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จำนวน 20 แห่ง มาประกาศความพร้อมร่วมกันที่จะเป็น Change Agent ในการขับเคลื่อนโครงการบริหารจัดการน้ำฯ ขยายผลสู่ชุมชน โดยผู้เข้าสัมมาได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์เพื่อความยั่งยืนของหลักสูตรชลกรที่จะทำร่วมกัน อาทิ สร้างศูนย์การเรียนรู้ชลกรต้นแบบ การจัดทำหนังสือประกอบการเรียนการสอน

Comments


ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page