ศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และอาจารย์ มหา วิทยาลัย ไซทะมะ ญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการยอมรับในทางวิชาการ แสดงท่าทีเรื่องดอกเบี้ย ต่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และท่าทีของโฆษกกนง. . “ดร.ปิติ ดิษยทัต” ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.
โดยเฉพาะการอ้างความเป็นอิสระจนทำให้นายกรัฐมนตรี ออกมาแนะนำว่า การจะเป็นอิสระ แต่ก็ต้องคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนประกอบด้วย
และล่าสุด รศ.ดร.นงนุช ตันติสันติวงศ์ นักวิชาการด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังและภาษี มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม เทรนต์ ประเทศอังกฤษ ออกบทความเรื่อง “ความเป็นอิสระระหว่างนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง มีความสำคัญต่อความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ”
จนทำให้นักเศรษฐศาสตร์ ต้องออกมาแสดงท่าทีทางวิชาการ ลองไปติดตาม!!!!
เรียน ดร นงนุช ครับ
เรียนท่าน ว่า ถ้าดูตัวเลข ศก ไทย อยู่ ในสภาวะ ถดถอย ติดต่อ กัน ครับ ตาม ที่ สภาพัฒน์ แถลง ตัวเลข ต่อ เนื่อง ของปี 2566 คือ degenerative ศก หดตัว ไม่ ใช่ ฟื้นตัว!
ผม ใช้ ตัวแบบ วัฐจักรธุรกิจ (Business Cycle model)
พยากรณ์ ล่วงหน้า อัตรา การ หดตัว ของ Q3 และ Q4 2566 ของ
เศรษฐกิจ มหภาค เมื่อ ปลายปี 66 และ ก็ หด จริง ! หลังประกาศ ครับ
(มี รายงาน )
2. เงินเฟ้อ ติดลบ ทั้ง
Headline และ กำลัง อยู่ min Core inflation หมายความว่า ดุลยภาพภายใน วัดโดย อัตรา เงินเฟ้อ น่าจะ กลาย เป็นฝืด อย่างน่าห่วง คือไม่ มีเสถียรภาพภายใน มากขึ้นเรื่อย ?
3. ท่าน พูด ถึง external balance ค่าเงิน จะ สวิงถ้า ลดดอกเบี้ย แต่ flow and stock equilibrium ร่วม ไม่ น่าจะ ทำ ให้ เงิน บาท หลุดโลก เหมือน ‘97 เพราะเรา มี FX มาก เกิน พอ
4. ผม คิด ว่า การลดดอกเบี้ย นโยบาย ของ คณะ กก การเงิน น่าจะ ทำได้ จาก 2.5>>> 1.5 -2.0 แม้ นโยบาย การเงิน มี gestation lagged ต่อ แต่ก็ เป็นการส่งสัญญาณการ ทำงาน ร่วม กันของ Policy Mixed การคลัง _ การเงิน ในระยะกลาง
5. ผม เห็นว่า การทำ sequential injection เพื่อ เป็น การ counter cyclical เป็นระยะ ๆ ตาม phase of business cycle ควรทำ จาก งบประมาณ แผ่นดิน เท่า ที่ หาได้ จาก รายรับ ภาษี ที่เข้ามา หลังการกระตุ้น ทางการคลัง
และ การลดดอกเบี้ย ที่ ธพ ยอม ตาม แม้ มี อำนาจเหนือ ตลาด
6. การ เพิ่ม Total Productivity ทำได้ จาก การ ใช้ นโยบายการเงิน การคลังร่วม กัน ( ไม่ลงรายละเอียด) ในภาคเกษตร SME
และ การลงทุน จริงภาครัฐ เอกชน ต่อไป
นับถือ
ดร กิตติ ลิ่มสกุล
อดีต อาจารย์ เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
และ มหา วิทยาลัย ไซทะมะ ญี่ปุ่น
22 กพ 256ค
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ "ดร.กิตติ"ตั้งคำถามเดือด! ผ่านจดหมายเปิดผนึกถึงโฆษก กนง. “ดร.ปิติ ดิษยทัต” ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.ลองไปติดตามอีกครั้ง
เรียนท่าน โฆษก กนง ธปท
คุณ ปิติ
ผม คิด ว่าการตัดสินใจของ MPC น่าจะ วิเคราะห์ได้ ดังนี้ ครับ
1. ตัวแบบ Dynamic Stochastic General Equilibrium (DSGE) ของท่าน ธปท ที่ โฆษก ปิติ อิง น่าจะ ให้ ภาพ ว่า อาจเกิด แรงกดดัน เงินเฟ้อ จาก ศก สรอ. จึงต้องการ คง ออกดอกเบี้ย ชี้นำไว้ ที่เดิม
(พอฟังได้ แต่ เราจำต้อง คงไว้นาน ขนาดนี้ เลย หรือ ครับ ท่าน ขึ้นไป กว่า 7-8 ครั้ง แล้ว และ ท่าน คาดเดา ศก สรอ ได้ แม่นยำแค่ใหน ครับ?)
2. น่าแปลกใจ ที่ คำอธิบายของ โฆษก คุณ ปิติ ไม่ สอดคล้อง กัน เอง ว่า AD ยัง ขยายตัวดี จึงคิด ว่า เงินเฟ้อ ติดลบ ต่อเนื่องเป็น เรื่อง ชั่วคราว ‘เดี่ยวดี เอง? ‘ ผมคิดว่า Output gap ระหว่าง actual และ ศักยภาพ น่าจะถ่างออก มากถึงมากกว่า ร้อย ละ 60 และ ส่ง ผล ด้าน ราคา ปรับตัวจากด้าน อุปทาน รวม AS ลดลงเกินกว่า ราคา ขยายตัวจากด้าน อุปสงค์ รวม ณ ดุลภาพชั่วคราว ที่ชัดเจนอยู่ แล้วครับ
ไม่แน่ ใจ คุณ ปิติ คุย กับ modeler ของธปท ? ละเอียด ใหม ครับ? และ ที่ ธปท อ้างการ ขยายตัว เข้าสู่ สมดุล Equilibrium ? อย่างช้าๆ น่าจะไม่ใช่นะ ครับ
ผมว่า ตรงข้าม ศก ไทย มันกำลัง เกิด Divergence จาก สมดุลระหว่างDynamic AS-AD ในระยะ สั้น กลาง และ ยาว (ถ้า ไม่ กระตุ้น ศก แต่ ไม่จำเป็นต้อง
DGW เพียงอย่างเดียว )ไม่ แน่ใจว่า ท่าน ช่วย คุย กับ ที่ นัก modeler ธปท อีกครั้ง เราน่าจะ เรียน มา คนละ ตำรา?
3. inflation-unemployment trade off ที่ดุลภาพ ชั่วคราว (Temporary equilibrium) จะเห็นชัดเจน ว่า หาก เงินเฟ้อ ต่ำ กว่า min core inflation ของ ธปท จะ ก่อ ให้ เกิด Chaos เพราะ มี uncertainty and risk ของการ ตกงาน แอปแฝง และ ตกงาน โดยไม่สมัครใจ (involuntary unemployment)
การ ออกจากธุรกิจ (เจ๊ง) ของ
SMEs การ ลดลงของ welfare ครัวเรือน เนื่องจาก ตกงาน ไม่ มี รายได้ เงินสด และ ไม่ สามารถบริโภคได้ แม้ ราคา สินค้า ลดลง ต่อ เนื่องก็ตาม
อันนี้ ทาง
ทฤษฎี คือ Degenerative Economy หรือ Crash !!!
Low growth with stagflation คือ ดอกเบี้ย สูง ( ดอกเบี้ย แท้จริง บวก เงินเฟ้อ สูง มาก ลอง
ถาม ตลาดดู) เอกชน หาเงินไม่ได้ เพราะ แพง จ่ายไม่ไหว และ ธพ ไม่ปล่อย ขณะ ที่ ค่าเช่า สูง (Rentier economy) แต่ เงินเฟ้อ ติดลบ ทรัพยากร ว่างงาน มาก under utilization …ทั้ง รถยนต์ บ้าน ที่จะ ถูก บังคับ คดี จะ มาก ขึ้น มาก
ผมคิด ว่า ทั้ง Keynesian and Monetarist or New Keynesian applying DSGE สามารถ
คาดการณ์ ได้ ว่า อันนี้ คือ A Death Foretelling ( ความตาย ที่ มี สัญญาณ ล่วงหน้า , Krugman) ปัญหา ที่ตรงข้าม กับ 1997 crash แต่ ผล เดียวกัน คือ เศรษฐกิจไทย มี วิกฤต ที่ มองเกห็น ล่วงหน้า ด้วย ปัญญา!
1. ครั้งนี้ มี ธปท มี ทุน สำรอง
มากเกิน เทียบกับ 1997
2. ธปท ยังไม่ มี Financial Supervisory Agency เช่น 1997 ( กำแพง กั้น ระหว่าง ฝ่าย กำกับ สถาบันการเงิน ธพ และ นโยบาย การเงิน โดย กนง)
จึงเกิด การ ทับซ้อน ของ นโยบาย การเงิน และการ กำกับ ระบบสถาบันการเงิน (ล้าหลัง กว่า เพื่อน เช่น เกาหลี จีน … ที่ปรับตัว หลัง 1997) เหมือน ธปท กำกับ ธพ ไม่ได้ เลย ว่า ควร มี ประสิทธิภาพ และ ทำธุกิจ การธนาร ที่ แข่งขัน คืออะไร
ในปี 2024 จน รมว พาณิชย์ ?
ออก มา ว่า จะ มี economic crash ? ถ้า …
3. ผม อยาก เห็น ตัวแบบ DSGE ของ ธปท ว่า ทำไม optimal interest rate w.r.t output gap, inflation gap between target and actual , trade off inflation unemployment, exchange rate
etc ., เป็น เท่าไหร่ครับ
น่า optimal ที่ 1.5-2.0 % pa หรือไม่ ครับ ท่าน ตาม model solutions ผม ในฐานะ ประชาชน ขอ ดู ตัว DSGE ของท่าน ว่า ทำไม ได้ 2.5 % pa เกือบถาวร
4. ขอ รายละเอียด ตัว แบบ สมการ ตัว พารามิเตอร์ และ model solutions เท่า ที่ อธิบาย เปิดเผยได้ ครับ
สำคัญ คือผล การ พยากรณ์ ทางเลือก ภายใต้ เหตุการณ์ ต่างๆ เป็น ทางเลือก ให้ ประชาชนสาธารณะ อย่างโปร่งใส ว่า ธปท ใช้ ข้อ มูล ชุด ใหน และ มี objective Fn อะไร บ้าง
การ แถลง ที่ คุณ ปิติ เสนอ ค่อนข้างขาด หลักวิชา หนุนหลัง ที่ consistent with any sets of assumptions and model solutions
สาธารณะ คง ยัง ฝัน ไม่ เสด็จน้ำ ครับ เรื่อง ทำไม ดอกเบี้ยชี้นำ สูง ไม ธพ ไม่ ปล่อยกู้ และ คิด ดอกเบี้ย สูง หรือ มี monopolistic power ? คำตอบ นี้ ฝ่ายกำกับ น่าตอบ นะ ครับ
ปล หลัง
1997 รายงาน ศปร และ ธปท มี รายงาน ทางวิชาการ เรื่องการ ประมาณการ สิ่ง ที่ผม กล่าวข้างต้น ที่เป็น technical paper ที่ ดี มาก สมเป็น ธปท สถาบันของชาติ ออก มา อธิบาย การ ใช้ ตัว แบบ และ justifying การ ใช้ inflation targeting แต่ ทุกวันนี้ ไม่ค่อย มี รายงาน วิชาการ ที่มี มาตรฐาน นานาชาติ เช่น นี้ (หรือ ผม หาไม่พบเอง ? ขออภัย)
ขอ ให้ ช่วย ชี้ แจงให้ กระจ่างกว่า ที่โฆษก แถลงด้วย ครับ
จัก เป็นพระคุณยิ่ง
ดร กิตติ ลิ่มสกุล
8 กพ 2567
(ลองย้อนไปติดตามบทความเรื่อง “ความเป็นอิสระระหว่างนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง มีความสำคัญต่อความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ” รศ.ดร.นงนุช ตันติสันติวงศ์ นักวิชาการด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังและภาษี มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม เทรนต์ ประเทศอังกฤษ
“นักเศรษฐศาสตร์เราถูกสอนกันมาว่า นโยบายการคลังและนโยบายการเงินต่างก็สามารถเป็นเครื่องมือที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจหรือแก้ปัญหาหนี้ล้นและความไม่มีเสถียรภาพของราคาในภาคเศรษฐกิจได้
วันนี้จะขอกลับมาเป็นอาจารย์เศรษฐศาสตร์อีกครั้งนะคะ วันนี้จะว่าด้วยวิชา Economic Policy หรือนโยบายเศรษฐกิจ
หากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจนโยบายการคลัง ได้แก่ การเร่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยภาครัฐ เพื่อให้มีการจ้างงานแรงงานในการก่อสร้าง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาประเทศ, การเร่งการใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้า บริการ เพื่อให้เกิดการซื้อขายหมุนเวียนของเม็ดเงิน จนกระทั่งร้านค้า-บริษัทยังคงมีรายได้และจ้างแรงงานเพื่อการผลิตสินค้าและบริการ, การลดภาษีเงินได้ เพื่อให้คนมีรายได้มาใช้จ่ายบริโภคได้มากขึ้น, การลดภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อลดราคาสินค้าและบริการ ช่วยให้ค่าครองชีพต่ำลง และการลดค่าธรรมเนียม เพื่อเร่งให้เกิดธุรกรรม
แน่นอนว่านโยบายลงทุนและใช้จ่ายมาพร้อมคำถามว่า เงินที่จะใช้มาจากไหน หนี้ที่ก่อเอาอะไรจ่าย ใครเป็นผู้รับภาระภาษีที่เอาไปใช้จ่าย
แต่นโยบายลดภาษีเงินได้ เป็นการทำให้ผู้เสียภาษีมีรายได้คงเหลือเพิ่มขึ้นหลังหักภาษี ทำให้ผู้เสียภาษีมีแรงจูงใจในการทำงานสร้างรายได้เพิ่มขึ้น สร้างผลผลิตให้กับระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ในขณะที่ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์จ่ายภาษีเดิม ก็มีแรงจูงใจที่จะทำงานมากขึ้น เพราะรายได้ที่เพิ่มขึ้นก็ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต้องเสียภาษีเหมือนเดิม ....ผู้ที่มีรายได้ลดลงหากใช้นโยบายนี้ ก็คือภาครัฐ
ในขณะที่ การลดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือการลดค่าธรรมเนียม ทำให้มีการใช้จ่ายผ่านภาคประชาชนมากขึ้นอย่างทั่วถึง ทุกคนต้องกินต้องใช้ค่ะ ลดภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นประโยชน์กับประชาชนในวงกว้าง แต่ปัญหา คือการบริโภคที่เพิ่มขึ้น อาจไม่ได้นำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น เพราะในกรณีรัฐเป็นผู้ได้รับรายได้ลดลง แต่ผู้ขายยังคงมีรายได้ต่อชิ้นสินค้าที่ขายได้เท่าเดิม เพียงแต่อาจจะขายได้ปริมาณมากขึ้น ทำให้อาจจะมีการจ้างงานมากขึ้น
เงินเฟ้อจะตามมาเสมอไม่ว่ารัฐจะใช้นโยบายใช้จ่าย/ลงทุนหรือนโยบายภาษี
นโยบายการเงิน ได้แก่ การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยหวังว่าอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารระยะสั้นจะส่งผลต่อต้นทุนของธนาคาร ทำให้ธนาคารสามารถลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อตามได้
อย่างไรก็ตาม หากอัตราดอกเบี้ยไม่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของผู้กู้สูงเนื่องจากระบบเศรษฐกิจเปราะบาง ต้นทุนของเงินให้สินเชื่อก็ไม่อาจลดได้ ทำให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อก็จะไม่ลด ผลของการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อระบบเศรษฐกิจก็อาจจะแทบไม่มีนัยสำคัญ ในขณะที่อาจทำให้เกิดเงินทุนไหลออกได้
ทางเศรษฐศาสตร์ เราเรียนสถานการณ์ที่การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่มีผลให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจว่า Liquidity Trap
การเพิ่มปริมาณเงินในระบบผ่านการซื้อขายพันธบัตร/ตราสารหนี้ และการลดสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสียงขั้นต่ำ ต่างก็ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้น แต่ทั้งสองวิธีนี้จำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวัง
เพราะเมื่อปริมาณเงินเพิ่ม เงินเฟ้อก็จะตามมา และเป็นเงินเฟ้อที่มาจากปัจจัยด้านอุปทานเงิน ซึ่งนอกจากจะทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงแล้ว ค่าเงินก็จะอ่อนลงด้วย เพราะจะมีเงินทุนไหลออกจากการคาดการณ์ว่าค่าเงินจะลดลงในอนาคต
เมื่อมีเงินไหลออก มากกว่าเงินที่เพิ่มเข้าระบบผ่านมาตรการทางการเงิน จะทำให้กระทบต่อค่าเงินบาท ความมั่นคง/เสถียรภาพของระบบการเงิน และส่งผลลบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
การใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนี้จึงมักจะต้องทำอย่างระมัดระวัง ใช้เมื่อจำเป็น ใช้เมื่อนโยบายการคลังไร้ผลในภาวะวิกฤต
จะเห็นว่าไม่ว่าจะใช้นโยบายการคลังหรือนโยบายการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
ดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์จึงรู้กันว่า ถ้าอัดฉีดเงินผ่านนโยบายการคลังแล้ว นโยบายการเงินต้องพยายามควบคุมไม่ให้ปริมาณเงินในระบบมากเกินไป เพื่อไม่ให้มีเม็ดเงินในระบบมากเกินจนเกิดการเก็งกำไรในตลาดทุนและตลาดอสังหาริมทรัพย์ จนเกิดเงินเฟ้อที่ไม่ได้มีการผลิตที่เพิ่มขึ้นหรือการพัฒนาประเทศ
ไม่ใช่เพียงอัตราดอกเบี้ยที่ส่งผลต่อค่าเงินนะคะ ปริมาณเงิน อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพของระบบการเงินต่างก็ส่งผลต่อค่าเงินได้เช่นกัน ซึ่งค่าเงินนี้จะส่งผลต่อเนื่องไปสู่การนำเข้า-ส่งออก และเม็ดเงินลงทุนในตลาดทุน
ในแต่ละบริษัท-องค์กร จะมีหน่วยงานที่จัดหารายได้และบริหารรายจ่าย กับหน่วยงานที่ควบคุมบัญชี ปริมาณเงินขององค์กร ดูแลสัดส่วนทุนและหนี้ให้สมดุล และทั้งสองหน่วยงานก็ควรเป็นอิสระต่อกัน เพื่อป้องกันการสมรู้ร่วมคิด สร้างปัญหาทางการเงินภายหลัง
ถ้านโยบายการคลังและการเงินต่างก็ใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อมกัน ในเวลาที่ยังไม่วิกฤต แล้วถ้าเวลาวิกฤตมาถึง เราจะมีเครื่องมืออะไรที่สามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้”
Commentaires