top of page

Dowแชร์ความสำเร็จการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

ในงานประชุมการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนแห่งเอเซียแปซิฟิกครั้งที่ 16

Net Zero

เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (ประเทศไทย) และ The Asia Pacific Roundtable for Sustainable Consumption and Production (APRSCP) ได้จัดงานประชุมการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนแห่งเอเซียแปซิฟิกครั้งที่ 16 เรื่อง Bridging Net Zero Transition by SCP and Circular Economy ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ ของภาคต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ในการนี้ได้รับเกียรติจาก มร. เอ็ดวิน ซี. แซเกอตัน จูเนียร์, ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ, สถานฑูตอเมริกา ขึ้นกล่าวปาถกฐาในหัวข้อ “Leveraging the Power of the Private Sector: How the U.S. is Engaging Companies to Fight Climate Change”

รวมทั้งภาคเอกชนหลายหน่วยงานร่วมแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับบทบาทภาคเอกชนและภาครัฐในการจัดการขยะพลาสติกและการจัดการเพื่อการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในงานนี้

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะสร้างธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ได้ร่วมแชร์ความสำเร็จและนวัตกรรมของ Dow ที่ช่วยจัดการให้โรงงานสามารถลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ได้ด้วยความร่วมมือของภาครัฐและภาคธุรกิจ โดยนายวิชาญ ตั้งเคียงศิริสิน ผู้อำนวยการฝ่ายขายภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ได้ร่วมสัมมนาในหัวข้อ “Enabling the net zero carbon dioxide emission through Innovation & Private and Government sector Collaboration” กล่าวถึงกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จของ Dow จากโรงงานไฟฟ้าโอซากิ คูลเจน ที่ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น โดยใช้เทคโนโลยีของ Dow ที่มีประสิทธิภาพสูงในการจับคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออไซต์ได 150,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับปลูกต้นไม้ 15 ล้านต้น และล่าสุดได้ร่วมมือกับรัฐบาลแคนาดา ในการนำนวัตกรรมของ Dow ไปใช้ในโรงงานผลิตเอทิลีนในรัฐอัลเบอร์ตา ซึ่งเป็นโรงงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์แห่งแรกของโลก

โพสต์ล่าสุด

ราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน "สิงคโปร์-สปป.ลาวแพงสุด"ส่วนบรูไน และมาเลเซียถูกสุด

มีรายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน ประจำวันที่ 22 เมษายน 2567 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้ 1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต

ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page