เมื่อวัน 15 ก.พ. 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวาระรายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่องการศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (แลนด์บริดจ์) เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน
หลังให้สมาชิกใช้เวลาอภิปรายแสดงความคิดเห็นนานเป็นเวลา 4.15 ชม. ในที่สุดที่ประชุมมีมติ เห็นด้วยกับรายงาน 269 เสียง ไม่เห็นด้วย 147 เสียง งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนน 1 คะแนน เป็นอันว่าที่ประชุมเห็นชอบกับรายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่ง ระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์)
ของ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่ง ระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) สภาผู้แทนราษฎ ที่มีนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ เป็นประธานกมธ.
โดย "ดร.กิตติ ลิ่มสกุล" ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดดังกล่าว กล่าวถึงความเห็นของสมาชิกทั้ง
ฝ่ายสนับสนุน คัดค้าน และเสนอแนะว่า มีคุณค่าแก่การรับฟัง อีกทั้งการศึกษาของสนข.อยู่ในขั้นของfact findingในทางวิชาการตนรับได้ ในฐานะที่เคยศึกษากรอบใหญ่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ SEC ของสภาพัฒน์มาก่อน ในขั้นของDetail Design ค่อยลงลึกอีกทีหนึ่ง
(ฟังคลิปอภิปรายในสภา ดร.กิตติ ลิ่มสกุล 15 กพ.67)
CLOSE-UP:โครงการแลนด์บริดจ์(Landbridge)
เพื่อให้การค้นคว้าเรื่องนี้ ครบทุกมิติ !!!
ดร.กิตติ ลิ่มสกุล พาไปชำแหล่ะแลนด์บริดจ์ ในแต่ละมิติว่า จะมีผลอะไรตามมา !!!!กับประเทศไทยหลังมีโครงการนี้ ซึ่งเขามองว่า เป็นเครื่องมือ หรือเป็นกลไก ของSEC
เพราะSEC คือเป้าหมายการพัฒนา เพื่อนำความเจริญรุงเรืองมาสู่ภาคใต้ แต่แลนด์บริดจ์ คือเครื่องมือ หรืออาวุธที่ใช้ในการรบครั้งนี้.... ตามไปศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม จากสไลด์ด้านล่าง!!!!
CLOSE-UP THAILAND:สื่อเพื่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน
Comments