top of page

กทม. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพจำนวน 67 พื้นที่

ชุมชนเมือง

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 57-97 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 72.5 มคก./ลบ.ม. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 67 พื้นที่


ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 71-121 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 70 พื้นที่ คือ

1.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 121 มคก./ลบ.ม. 2.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 113 มคก./ลบ.ม. 3.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 112 มคก./ลบ.ม. 4.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 112 มคก./ลบ.ม. 5.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 109 มคก./ลบ.ม. 6.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 109 มคก./ลบ.ม. 7.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 105 มคก./ลบ.ม. 8.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 105 มคก./ลบ.ม. 9.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 103 มคก./ลบ.ม. 10.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 103 มคก./ลบ.ม. 11.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 102 มคก./ลบ.ม. 12.สวนหนองจอก เขตหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 102 มคก./ลบ.ม. 13.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 101 มคก./ลบ.ม. 14.สวนพระนคร เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 100 มคก./ลบ.ม. 15.เขตบางบอน ใกล้ตลาดสุขสวัสดี : มีค่าเท่ากับ 100 มคก./ลบ.ม. 16.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 99 มคก./ลบ.ม. 17.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 99 มคก./ลบ.ม. 18.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 98 มคก./ลบ.ม. 19.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 96 มคก./ลบ.ม. 20.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 96 มคก./ลบ.ม. 21.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 96 มคก./ลบ.ม. 22.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 96 มคก./ลบ.ม. 23.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 96 มคก./ลบ.ม. 24.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 96 มคก./ลบ.ม. 25.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 95 มคก./ลบ.ม. 26.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 95 มคก./ลบ.ม. 27.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 95 มคก./ลบ.ม. 28.เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 94 มคก./ลบ.ม. 29.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 94 มคก./ลบ.ม. 30.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 94 มคก./ลบ.ม. 31.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 94 มคก./ลบ.ม. 32.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 94 มคก./ลบ.ม. 33.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 94 มคก./ลบ.ม. 34.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 92 มคก./ลบ.ม. 35.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 91 มคก./ลบ.ม. 36.เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 91 มคก./ลบ.ม. 37.เขตสวนหลวง ด้านหน้าสำนักงานเขตสวนหลวง : มีค่าเท่ากับ 91 มคก./ลบ.ม. 38.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 91 มคก./ลบ.ม. 39.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 89 มคก./ลบ.ม. 40.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 89 มคก./ลบ.ม. 41.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 89 มคก./ลบ.ม. 42.เขตบางกะปิ ข้าง ป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 88 มคก./ลบ.ม. 43.เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 88 มคก./ลบ.ม. 44.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 88 มคก./ลบ.ม. 45.เขตวัฒนา ตรงข้าม noble Reveal(ข้าง MK gold restaurants) : มีค่าเท่ากับ 87 มคก./ลบ.ม. 46.อุทยานเบญจสิริ (สวนเบญจสิริ) เขตคลองเตย เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 86 มคก./ลบ.ม. 47.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม. 48.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน เขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม. 49.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม. 50.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ เขตประเวศ : มีค่าเท่ากับ 84 มคก./ลบ.ม. 51.เขตราชเทวี ภายในสำนักงานเขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 84 มคก./ลบ.ม. 52.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 84 มคก./ลบ.ม. 53.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 83 มคก./ลบ.ม. 54.เขตสะพานสูง ภายในสำนักงานเขตสะพานสูง : มีค่าเท่ากับ 83 มคก./ลบ.ม. 55.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม. 56.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม. 57.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม. 58.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม. 59.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม. 60.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม. 61.เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 79 มคก./ลบ.ม. 62.เขตลาดพร้าว ภายในสำนักงานเขตลาดพร้าว : มีค่าเท่ากับ 78 มคก./ลบ.ม. 63.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม เขตบางคอแหลม : มีค่าเท่ากับ 78 มคก./ลบ.ม. 64.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม. 65.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม. 66.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 74 มคก./ลบ.ม. 67.สวนสันติภาพ เขตราชเทวี เขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 72 มคก./ลบ.ม. 68.เขตห้วยขวาง ภายในสำนักงานเขตห้วยขวาง (ด้านข้างโรงเพาะชำ) ถนนประชาอุทิศ : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม. 69.สวนจตุจักร เขตจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม. 70.สวนลุมพินี เขตปทุมวัน เขตปทุมวัน : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม.


ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา) คาดว่าอัตราการระบายอากาศในช่วงวันที่ 31 ม.ค.- 6 ก.พ. 66 จะไม่ดี เนื่องจากเพดานอากาศต่ำ เกิดสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับในช่วงวันที่ 4-6 ก.พ.66 คาดว่าอัตราการระบายอากาศ ดี/อ่อน มีฝนบางพื้นที่ จากทิศใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยพัดเข้ามาปกคลุมแทนที่ลมหนาว ส่วนมวลอากาศเย็นที่แผ่ปกคลุมเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีอุณหภูมิสูงขึ้น กลางวันอากาศร้อน ตอนเช้ายังมีอากาศเย็นถึงหนาว และมีหมอกบางพื้นที่ ส่งผลให้ช่วงวันที่ 3-5 ก.พ.66 มีอากาศค่อนข้างเปิด ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มลดลง ช่วงวันที่ 2 - 4 ก.พ. 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่ง และปิด โดยพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพกลาง กรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้ (พื้นที่ท้ายลม) **

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร


ก่อนหน้านี้ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า เนื่องจากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยวันนี้ (1 ก.พ. 66) ณ เวลา 18.00 น. ค่าฝุ่นสูงขึ้นในระดับสีแดง มากกว่า 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จำนวน 14 พื้นที่ เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่งและปิด ส่งผลให้ฝุ่นเกิดการสะสมตัวมากขึ้น และจากการคาดการณ์แนวโน้มฝุ่นจะมีค่าสูงต่อเนื่องในช่วงวันที่ 2-4 ก.พ. 66

ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง PM 2.5 และการหารือร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กรุงเทพมหานครพิจารณาแล้วจึงดำเนินการตามมาตรการดังนี้

WFH 2 วัน (2-3 กุมภาพันธ์ 2566) - หน่วยงาน กทม. WFH ยกเว้นส่วนที่ให้บริการประชาชน (บุคลากร กทม. ที่ปฏิบัติงานกลางแจ้ง ขอให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา) - ประสานกับกรมควบคุมมลพิษเพื่อขอความร่วมมือหน่วยงานราชการในพื้นที่ให้ WFH - ให้ผู้อำนวยการเขตประสานกับเอกชนในพื้นที่ โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ให้ความร่วมมือในการ WFH และสรุปรายงานผลความร่วมมือ ภายในวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566

กลุ่มเปราะบาง (ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยทางเดินหายใจ และเด็กเล็ก) - ศูนย์บริการสาธารณะสุข ทั้ง 69 ศูนย์ และ อสส. ออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ แจกหน้ากากอนามัย ให้คำแนะนำ และเฝ้าระวังอาการ - ขอความร่วมมือสวมหน้ากากอนามัย และลดกิจกรรมภายนอกอาคาร - หากมีอาการให้ปรึกษาคลินิกมลพิษทางอากาศ ของกทม. ทั้ง 5 แห่ง รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ ตากสิน สิรินธร ราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลกลาง เปิดทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 2 - 4 กุมภาพันธ์ 08.00-15.00 น. สามารถสอบถาม 1646 สายด่วนสุขภาพ

โรงเรียน กทม. กทม.ไม่ได้สั่งปิดโรงเรียนทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่าครูและบุคลากรในโรงเรียน กทม. ได้เตรียมพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ และสามารถช่วยดูแลเด็กได้โดยไม่เป็นภาระกับผู้ปกครอง จึงดำเนินการตามมาตรการดังต่อไปนี้ - ให้นักเรียนสวมหน้ากากตลอดเวลา (นอกอาคารสวมหน้ากาก 2 ชั้น และ 1 ชั้นในอาคาร) - ห้ามทำกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด - อยู่บ้านแบบสมัครใจได้ หากที่บ้านมีพื้นที่ปลอดฝุ่น - ทำความสะอาดโรงเรียนเพื่อลดฝุ่น

สถานที่ก่อสร้าง - ควบคุมการเกิดฝุ่นละอองในสถานที่ก่อสร้างที่อยู่ในกำกับของ กทม. ทุกแห่งอย่างเคร่งครัด - ตรวจสอบและขอความร่วมมือสถานที่ก่อสร้างเอกชนให้ควบคุมฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างและการขนส่งอย่างเคร่งครัด กำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ - ให้ผู้อำนวยการเขตทุกเขตประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ งดการเผาในที่โล่ง เช่น การเผาหญ้า การเผาขยะ

การเดินทาง - ประสานกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล กวดขันการการจราจรและการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด - ขอความร่วมมือประชาชนใช้บริการรถขนส่งมวลชน - กวดขันไม่ให้รถเครื่องยนต์ดีเซลที่มีค่าไอเสียเกินมาตรฐานมาวิ่งบนท้องถนน

ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page