top of page

นักเศรษฐมิติ วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจโลก-ไทยกำลังเผชิญปัจจัยลบรอบด้านซ้ำหากได้รัฐบาลหลังสค.-กย.ลำบาก!!


ศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล นักเศรษฐมิติชื่อดัง วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลัง 2566ว่า ต้องจับตาดูสถานการณ์ประเทศมหาอำนาจเป็นหลัก สหรัฐเพิ่งจะสิ้นสุดperiod ของCOVID-19 เวลานี้อยู่ในขั้นของการฟื้นฟู และกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ในช่วงCOVID สหรัฐได้ทำQE( Quantitative Easing :QE)หรือการเพิ่มปริมาณเงินค่อนข้างมาก เพราะลองคิดดูว่า อยู่ดี ๆ มีน้ำไหลมาในระบบ กว่าจะซับออกได้ต้องใช้เวลา จึงเกิดเงินเฟ้อรุนแรง ตามมาด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายรอบ ทำให้ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยตามไปด้วย จึงเกิดภาวะ Overshoot จากเงินเฟ้อ เพราะปริมาณเงินไหลเข้า


อย่างไรก็ตาม แม้วันนี้สหรัฐเกือบจะเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว สังเกตจากกการจ้างงานนอกภาคเกษตรดีขึ้น อเมริกาอยู่ในขั้นที่พยายามอยากให้เกิดการเจริญเติบโต แต่ภาวะเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่ใช่เรื่องแล้ว แต่อเมริกายังมีปัญหาและโจทย์อีกมากมายที่จะต้องจัดการไม่ว่าจะเป็นเรื่องสงครามที่ไปหนุนยูเครน ทำให้เกิดภาระมาก ประการที่ 2 นอกจาการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องโครงสร้างของอเมริกาเองในเรื่องงบประมาณขาดดุลที่เรื้อรังมานานมากมายมหาศาล

“เศรษฐกิจอเมริกาเวลานี้ จึงค่อย ๆ ฟื้นแต่ยังไม่ค่อยดี อาจจะมีการขึ้นดอกเบี้ยอีกหรือไม่?แบบอ่อนๆสักครั้งหนึ่ง ”

ศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ยังวิเคราะห์ฝั่งยุโรปว่า สำหรับยุโรป ก็เหมือนกัน ขณะนี้ได้แก้ปัญหาการพึ่งพิงพลังงานจากรัสเซียไม่ว่าจะน้ำมันหรือแก็สได้ในระดับหนึ่งแล้ว เยอรมนีที่เคยลำบากเริ่มดีขึ้น อังกฤษยังมีปัญหาเงินเฟ้อที่สูงอยู่ ฉะนั้น การใช้นโยบายการเงินเรื่องดอกเบี้ยสูงก็เป็นไปได้

ทั้งหมดในโลกเวลานี้ ก็จะมีเรื่องเหล่านี้เข้าไปเป็นตัวแปรทางเศรษฐกิจ!!!

และที่ใกล้เราที่สุด คือ จีน ที่กำลังมีปัญหาเดตโอเว่อแฮงหนี้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นสมัยใช้เงินมหาศาลในการจัดการเรื่องโควิด รวมทั้งเรื่องอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่โอเวอแฮงอยูระดับหนึ่ง บริษัทขนาดใหญ่ยังมีปัญหาหนี้มาก ที่รัฐบาลยังต้องไปโอบอุ้ม เร็ว ๆ นี้อาจจะผุดขึ้นมาอีกรอบ ดังนั้น การเจริญเติบโตของจีนแทนที่จะราบรื่นก็จะสะดุดเหมือนกัน

เรื่องเหล่านี้ ทำให้จีนไม่สามารถเป็น engines of growthหรือเป็นเครื่องมือการเจริญเติบโตให้กับอาเซียน ไทยมีBilateral tradeกับจีน อาเซียนมีBilateral tradeกับจีน รวมทั้งที่เกิด repercussionเด้งไปเด้งกลับ ทำให้ demand ตรงนี้ไม่ดีเท่าที่ควร

รวมทั้งเรื่องที่ไทยหวังมากจากจีนคือนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจจะได้จากจีนแต่อาจจะถดถอยลงบ้างไม่เป็นไปตามคาด และนอกจากจำนวนแล้วยังเกี่ยวกับเม็ดเงินที่ใช้ ตัวแปรอีกอย่างของจีนคือเยาวชนคนรุ่นใหม่มีโอกาสตกงานสูงขึ้น เพราะงานหายากขึ้น จีนยังมีปัญหากระตุ้นเศรษฐกิจ หรือเกิดภัยพิบัติต่างๆ


“จีนจึงอยู่ในภาวะ ไม่ได้เป็นผู้นำในการสร้างการเจริญเติบโต!!!


ที่สำคัญ มหาอำนาจหลายประเทศเริ่มจะถอนตัวจากจีนในการลงทุน บริษัทใหญ่ต่างๆ ได้ย้ายไปที่ต่างๆทั้งเวียดนาม อินโดนีเซีย หรืออินเดีย โดยเฉพาะบริษัทเทคทั้งหลาย

ปัจจัยเหล่านี้ จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของไทยด้วย”


แต่จีนมีแผนที่ชัดเจน คือ BRI (Belt and Road Initiative :BRI) เรื่องของภาคการเจริญเติบโตที่จีนนำเงินมาลง สร้างถนนเชื่อมโยงลงมาผ่านทาง สปป.ลาว อาทิ รถไฟจีน-ลาว , ถนนอาR3 ยกระดับคุณภาพดีขึ้น เพื่อให้เชื่อมมาถึงเมืองไทย และลงสู่ทะเลต่อไป ตรงนี้ยังเป็น Paradigmสำคัญ ของจีนที่ต้องการคุมน่านน้ำฝั่งทะเลจีนใต้ เพราะมีเรือดำน้ำจากมหาอำนาจมาป้วนเปี้ยนแถวทะเลจีน ซึ่งเป็นความขัดแย้งในระดับหนึ่ง


ทั้งหมดทั้งมวลมีทั้งบวกและลบต่อเรา!!!!

ถามว่า แล้วการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขงโลกจะเป็นอย่างไรก็ต้องบอกว่าไม่ค่อยดี แต่ไม่ถึงกับต่ำเกินไป

และถามว่าการเจริญเติบโตเราจะเป็นอย่างไร?

ศ.ดร.กิตติมองว่า ถ้าดูตามสภาพแล้ว เวลานี้เศรษฐกิจมหภาคของไทยขับเคลื่อนด้วยอะไรบ้าง การบริโภค การลงทุน และการส่งออก นำเข้าสุทธิ การใช้จ่ายรัฐบาล เครื่องยนต์ทั้ง 4 ตัว การบริโภคเอกชน ประชาชน หนี้ครัวเรือนเวลานี้สูงมาก เกินครึ่งเป็นหนี้บ้าน ซึ่งเป็นหนี้ดี แต่ผ่อนไม่ไหว ส่วนหนึ่งเป็นหนี้รถยนต์ที่จำเป็นทีผ่อนเกือบจะไม่ไหว ส่วนหนี้บัตรเครดิตที่ถือเป็นหนี้ฟุ่มเฟือยก็เริ่มจะส่งผล


อันนี้ ก็เป็นหัวใจหนึ่งของแบงก์ชาติ และรัฐบาล จะทำอย่างไร?

“ถามว่า การบริโภคจะพุ่งปู๊ด ๆ ไหม มันพุ่งปู๊ดไม่ได้ เพราะไม่มีตังค์กัน”

ส่วนภาคท่องเที่ยวแม้จะฟื้นบ้าง แต่พบว่าผู้ประกอบการท่องเที่ยวยังประสบปัญหาเรื่องการเรียกแรงงาน พนักงานเดิมกลับมา เพราะได้เกิดภาวะสุญญากาศมานาน เกิดการเปลี่ยนแปลงแรงงาน เพราะช่วงโควิดผู้ประกอบการอุ้มไม่ไหว จึงไหลออกไป เกิดภาวะมิกแมต ไม่ได้ขาด แต่ได้ย้ายไปอยู่จุดอื่น ท่องเที่ยวเดิมที่ดีมาก เวลานี้เริ่มฟื้นตัวแต่ประสบปัญหาหาคนไม่ได้ ฉะนั้น การดึงเงินเข้ามาอาจจะไม่คล่องตัวนัก แต่ต้องบอกว่าดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะ เวลานี้ท่องเที่ยวถือเป็นตัวเดียวที่ผลักดันเศรษฐกิจอยู่

"ส่วนภาคเกษตร อุตสาหกรรมเรา ของเราเกินครึ่งยังเป็น Old economy ใช้แรงงานเข้มข้นใช้เครื่องจักรล้าสมัย ผลิตภาพจึงไม่ค่อยดี อันนี้เป็นโจทย์ใหญ่ประเทศ ที่ต้องปรับเพิ่มผลิตภาพความสามารถการแข่งขัน จากการผลิตทางด้านซัพพลายไซด์ ดังนั้น ในการลงทุนภาคเอกชนจึงอยู่ในภาวะตื้ออยู่ ส่วนการลงทุนภาครัฐ ที่เคยเป็นหัวจักร ก็ลำบากเพราะการลงทุนต้องเกิดจากงบประมาณแผ่นดิน และนอกงบประมาณ และรัฐวิสาหกิจ

งบประมาณปี 2567 แม้จะผ่านไปแล้ว แต่ยังมีขั้นตอนต่างๆอีกมาก ทุกอย่างจึงเป็นกรอบเดิมปี2566 ถามว่า เงินที่ไหลมาจากภาระภาษีจะเพียงพอหรือไม่ ??

ดังนั้น การตั้งรัฐบาลหากได้ล่าช้ากว่าเดือนสิงหาคม กันยายน2566 ผมเชื่อว่า ตกอยู่ในภาวะลำบากต่อเศรษฐกิจของประเทศตามมา!!! การวิเคราะห์โดยนักเศรษฐศาสตร์ชั้นครู ศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล


(ภาคผนวก:ตารางแสดงภาวะเศรษฐกิจโลก-ไทย โดยSCB EIC)



ที่มา .ขอบคุณ FM93 สทร.-SCB EIC

ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page