top of page

#ผู้ว่าชัชชาติ..ผนึกกำลังจังหวัดข้างเคียงคุมเข้มแหล่งกำเนิดฝุ่น พร้อมจับมือกว่า 30 บริษัทร่วมWFH

ชุมชนเมือง-สิ่งแวดล้อม

วันที่ 27 ม.ค. 66 ณ บริเวณหน้าห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร: นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ว่า จากการพยากรณ์ในวันที่ 26-27 ม.ค. 66 มีค่าฝุ่นสูงขึ้น เนื่องจากอากาศที่กดลงและมีลมต่ำ แต่คาดว่าในวันที่ 28-29 ม.ค. 66 สถานการณ์ฝุ่นจะคลี่คลาย

ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีมาตรการเร่งกำจัดแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งในช่วงนี้เราจะเห็นว่ามีการเผาชีวมวลที่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้มีการส่งจดหมายถึงจังหวัดข้างเคียง เพื่อให้ช่วยกันกำกับดูแลในเรื่องนี้ ขณะเดียวกันในพื้นที่เราเองก็มีไฟไหม้หญ้าและการเผาขยะของคนไร้บ้าน ซึ่งก็ต้องกำชับเรื่องนี้ให้มากขึ้น

นอกจากนี้ เราได้มีการขอความร่วมมือทำงานแบบ Work from Home ซึ่งมีบริษัทที่ให้ความร่วมมือประมาณ 30 กว่าแห่ง ทั้งนี้ ทุกฝ่ายยังต้องร่วมมือกันในเรื่องของการควบคุมดูแลที่แหล่งกำเนิดฝุ่น และการเตรียมตัวในการรับมือกับฝุ่นด้วย

● สถานการณ์โควิดไม่น่ากังวล พร้อมรับนักท่องเที่ยวทุกประเทศ

ในส่วนของเรื่องการรับมือจากนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่กำลังเข้ามาในประเทศไทยในช่วงนี้ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวว่า การที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามานั้นถือเป็นเรื่องที่ดี โดยเราได้มีการมอนิเตอร์อยู่ตลอดสำหรับนักท่องเที่ยวทุก ๆ ประเทศที่เข้ามาในไทย สำหรับในตอนนี้ตัวเลขการติดเชื้อโควิด-19 ของเราก็ต่ำกว่า 100 คนต่อวัน แต่เราก็ยังมีการเตรียมพร้อม ทั้งในเรื่องของวัคซีนป้องกันโควิด-19 และโรงพยาบาลต่าง ๆ ภาพรวมจึงไม่เป็นที่น่ากังวล เพราะนักท่องเที่ยวที่ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ารับบริการในสถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร เนื่องจากมีประกันจึงเข้ารับบริการจากโรงพยาบาลเอกชนหรือโรงพยาบาลอื่นที่รองรับอยู่

อย่างไรก็ตาม หากนักท่องเที่ยวตรวจ RT-PCR แล้วยังกลับประเทศไม่ได้ ก็จะถูกกักกันอยู่ใน Hospitel หรือโรงแรมที่เข้าพัก ซึ่งเรามีมาตรการดูแลอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวล คาดว่าสามารถรับมือได้

ด้านที่จอดรถ/ที่จอดรถทัวร์ของสถานที่ท่องเที่ยวจะเพียงพอหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่ ในส่วนของ กทม. อาจจะมีรถ Shuttle Bus หรือ Feeder ให้บริการ ส่วนพื้นที่ต่าง ๆ เราได้ทยอยปรับปรุงอยู่ตลอด เช่น ที่สนามหลวง เราได้มีการทำอุโมงค์ ซึ่งช่วยลดความแออัดจากข้างบน เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบันจำนวนนักท่องเที่ยวยังไม่มากเท่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 จึงน่าจะพอรับมือได้


อนึ่ง ผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 27 มกราคม 2566 เวลา 9.00-11.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) โดย ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร

ตรวจวัดได้ 37-76 มคก./ลบ.ม.

ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 53.5 มคก./ลบ.ม.

ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีค่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 50 พื้นที่ คือ


1.เขตสัมพันธวงศ์ 2.เขตพญาไท 3.เขตวังทองหลาง 4.เขตปทุมวัน 5.เขตบางรัก 6.เขตยานนาวา 7.เขตจตุจักร 8.เขตบางกะปิ 9.เขตลาดกระบัง 10.เขตธนบุรี 11.เขตคลองสาน 12.เขตภาษีเจริญ 13.เขตบางเขน 14.เขตบางพลัด 15.เขตบางขุนเทียน 16.เขตสาทร 17.เขตคลองเตย 18.เขตบางซื่อ 19.เขตหลักสี่ 20.เขตบึงกุ่ม 21.เขตคลองสามวา 22.เขตสายไหม 23.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 24.เขตดอนเมือง 25.เขตดินแดง 26.เขตพระโขนง 27.เขตบางกอกใหญ่ 28.เขตตลิ่งชัน 29.เขตทวีวัฒนา 30.เขตหนองแขม 31.เขตบางบอน 32.เขตบางนา 33.เขตคันนายาว 34.เขตมีนบุรี 35.เขตหนองจอก


36.เขตประเวศ 37.เขตบางกอกน้อย 38.เขตสวนหลวง 39.เขตบางแค 40.เขตจอมทอง 41.เขตราษฎร์บูรณะ 42.เขตทุ่งครุ 43.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง (เขตลาดกระบัง) 44.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง (เขตดอนเมือง) 45.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม (เขตบึงกุ่ม) 46.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา (เขตทวีวัฒนา) 47.สวนพระนคร เขตลาดกระบัง (เขตลาดกระบัง) 48.สวนหนองจอก เขตหนองจอก (เขตหนองจอก) 49.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ (เขตทุ่งครุ) 50.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด (เขตบางพลัด)

สามารถตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง

- แอปพลิเคชัน AirBKK

แผนการตรวจ แหล่งกำเนิดฝุ่น PM 2.5 ของกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 27 มกราคม 2566

สถานประกอบการ/โรงงาน 60 แห่ง 15 เขต สถานที่ก่อสร้างสำนักการโยธา กทม. 52 แห่ง สถานที่ก่อสร้างเอกชน 29 แห่ง 8 เขต แพลนท์ปูน 4 แห่ง 2 เขต ตรวจควันดำรถ (ต้นทาง) 7 แห่ง 2 เขต จุดตรวจจับรถปล่อยควันดำ 20 จุด


ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page