top of page

ภารกิจยับยั้งวิกฤตสภาพอากาศของดีแทคและเทเลนอร์ ที่มากกว่าเพียงการช่วยโลก

อัปเดตเมื่อ 28 ม.ค. 2565


วันที่ 27 มกราคม 2565 – ตามที่ศูนย์วิจัยเทเลนอร์ได้คาดการณ์ 5 ความก้าวหน้าสำคัญทางเทคโนโลยีของโลก ท่ามกลางเมกะเทรนด์สำคัญอย่างการเปลี่ยนผ่านสู่โลกสีเขียว เทเลนอร์จึงมีความมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนสำหรับการดำเนินธุรกิจในยุโรปภายในปี 2573 โลกได้ส่งสัญญาณถึงภาวะโลกร้อนรุนแรง และกำลังเผชิญภาวะการเสื่อมถอยทางสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมืองชายฝั่งทะเลกำลังจมหายไปเร็วกว่าที่คาด ซึ่งรวมถึงกรุงเทพมหานครด้วย ขณะที่การทำเกษตรเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้นอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร


คริสเตียน ฮอลล์ ผู้อำนวยการด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของเทเลนอร์ กล่าวว่า “ภาวะโลกร้อนไม่ใช่ปัญหาที่ค่อยเกิดขึ้น แต่เป็นปัญหาที่กำลังรอวันปะทุ เราเริ่มเห็นจุดเปลี่ยนของธรรมชาติหลายประการส่งสัญญาณถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของภาวะโลกร้อน เช่น การละลายของทวีปอาร์คติกที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ทั้งนี้ เทเลนอร์นั้นเป็นผู้ถือหุ้นรายสำคัญของดีแทคและมอบคำปรึกษาในฐานะผู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน รวมถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย”


กระดุมเม็ดแรกสู่ข้อตกลงปารีส


ในปี 2558 สมาชิกแห่งสหประชาชาติจำนวน 196 ประเทศได้ร่วมกันประกาศสัตยาบันบรรลุข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์เพื่อยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมายในการรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส หรือ 1.5 องศาเซลเซียสหากเป็นไปได้ เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม


“เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ท้าทายดังกล่าว นานาประเทศต่างมีความจำเป็นในการยื่นแผนที่นำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในส่วนของกลุ่มประเทศนอร์ดิก (ซึ่งรวมถึงประเทศเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน) ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายอย่างเข้มข้นในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปี 2533 ภายในปี 2573 และเพื่อตอบสนองต่อนโยบายรัฐดังกล่าวในฐานะองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เทเลนอร์ได้ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันทุกตลาดให้ได้ 57 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปี 2533 ภายในปี 2573” คริสเตียนกล่าว


ทั้งนี้ เพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้สัมฤทธิ์ผลและติดตามความคืบหน้าให้สอดคล้องกับเป้าหมายตามข้อตกลงปารีส เทเลนอร์จึงได้ใช้เป้าหมายซึ่งกำหนดโดย Scientific Based Targets Initiative (SBTi) ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามฐานวิทยาศาสตร์


เป้าหมายที่ท้าทาย


เทเลนอร์ เป็นกลุ่มผู้ให้บริการโทรคมนาคมซึ่งให้บริการใน 9 ตลาดทั่วโลก ครอบคลุมภูมิภาคนอร์ดิกและเอเชีย อย่างไรก็ตาม ด้วยบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่แตกต่างกัน ทำให้ทั้งสองภูมิภาคมีความท้าทายทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน รวมถึงจุดตั้งต้นและเป้าหมายที่ต่างกัน

“ในกลุ่มประเทศนอร์ดิก เทเลนอร์มีความพยายามอย่างยิ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573 โดนมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในส่วนของโครงข่าย เพิ่มสัดส่วนการบริโภคพลังงานสะอาด รวมถึงการใช้บริการอื่นๆ ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในส่วนของตลาดเอเชียนั้น ได้ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งในปี 2573 โดยโฟกัสที่การเปลี่ยนพลังงานดีเซลเป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์บริเวณเสาสัญญาณ ตลอดจนสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกตลอดทั้งซัพพลายเชนของการดำเนินธุรกิจ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานจากน้ำ” คริสเตียนอธิบาย



ด้วยความพยายามในการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน บริษัทชั้นนำต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งเทเลนอร์เอง มีแผนจะนำระบบสัญญาซื้อขายพลังงานทางเลือกล่วงหน้า (Power Purchase Agreement หรือ PPA) มาใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินในระยะยาว โดย PPA นั้นคือข้อตกลงการซื้อขายพลังงานหมุนเวียนในระยะยาวในปริมาณและราคาที่ตกลงไว้ ซึ่งสมดุลกับความต้องการของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค


อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทางเลือกนั้นยังมีความท้าทายอยู่มาก เนื่องจากพลังงานฟอสซิลอย่างถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ นั้นยังเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ในประเทศไทยนั้น ระบบ PPA ต้องอาศัยการขับเคลื่อนเชิงนโยบายจากภาครัฐเป็นสำคัญ

“การมีระบบการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือ PPA ถือเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้ภาคเอกชนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 5G ซึ่งอาจมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกมาก” เขาเน้นย้ำ


เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า


นอกจากการสนับสนุนการบริโภคพลังงานสะอาดแล้ว การคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมใหม่ยังมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญ อย่างที่ดีแทคเอง ก็มีความพยายามในการลดการใช้พลังงานด้วยเทคโนโลยี Cooling precision ซึ่งเป็นการใช้ทำให้ความเย็นเฉพาะจุด ตัวอย่างเช่นที่ชุมสาย (data center) ผสมผสานกับการใช้พลังงานทางเลือกทดแทน นอกจากนี้ ดีแทคยังร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในการพัฒนารูปแบบทดสอบการใช้งาน (use case) บน 5G เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงาน อาทิ การบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ การเกษตรอัจฉริยะ และการบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ


ในกรณีของเทเลนอร์ นอร์เวย์เอง ได้ริเริ่มโครงการ Green Radio ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่าง Machine learning และ AI เพื่อช่วยในการคาดคะเนความต้องการใช้พลังงานของโครงข่ายอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้สามารถปรับความต้องการใช้ไฟฟ้าให้สอดคล้องกับค่าทางเทคนิคที่เหมาะสมของอุปกรณ์โครงข่าย ขณะที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น IoT บิ๊กดาต้า หรือบล็อกเชน ยังทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกด้านสภาวะอากาศอย่างมีนัยสำคัญ ผ่านการเป็นตัวกลางในการช่วยให้อุตสาหกรรมอื่นๆ และผู้บริโภคลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง


“เทคโนโลยีเหล่านี้ยังมีบทบาทที่สำคัญในการบริหารจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมต่างๆ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบและหาที่มาของวัตถุดิบ ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจสนับสนุนสินค้าที่คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได้ดีมากขึ้น เช่นเดียวกับ ในอุตสาหกรรมการเกษตร ที่การใช้ระบบอัตโนมัติเข้าจำกัดวัชพืช จะช่วยลดการใช้ยาฆ่าแมลง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ และนี่คือตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ” คริสเตียนกล่าว

“ยังมีตัวอย่างหรือ use case ในการนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ผมตื่นเต้นกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างมาก” ผู้อำนวยการด้านสิ่งแวดล้อมกับสภาพภูมิอากาศของเทเลนอร์กล่าวเสริม


ความคาดหวังต่อสังคม


“ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมที่แข็งแกร่งจะช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นทั้งลูกค้า พนักงาน นักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มประเทศนอร์ดิก ปัจจุบัน นักลงทุนจำนวนมากขึ้นให้ความสำคัญกับการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งใช้กรอบการรายงานผลกระทบทางสภาพภูมิอากาศ (Climate-related Financial Disclosure) เป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการประเมินและเลือกลงทุน” คริสเตียนกล่าว


ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมจะส่งผลดีต่อตัวบริษัทเอง ดังจะเห็นว่า หุ้นของบริษัทที่ให้ความสำคัญกับวิกฤตสภาพอากาศนั้นมีแนวโน้มเติบโตสูงกว่า เมื่อเทียบกับบริษัทที่ด้อยในเรื่องการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกเหนือจากการช่วยโลกของเราแล้ว นี่อาจเป็นอีกแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ธุรกิจต่างๆ ก้าวเข้ามาเป็นผู้นำบนเส้นทางสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนี้เอง

Why tackling climate change matters to dtac and Telenor

27 January 2022 – As the climate change alarm bells get louder, technology and digitalisation will come to our aid in 2022, predicts Telenor Research in its latest Tech Trends report. Telenor’s ambition is to have carbon-neutral business operations in Europe by 2030. The planet faces severe environmental deterioration caused by resource exploitation, leading to a decline in biodiversity. Shoreline cities like Bangkok are sinking faster than expected due to the rapid rise of sea levels. Agriculture is being disrupted by flooding and drought brought by extreme weather patterns, posing challenges to food security.

“Climate change is not a linear problem, it’s an exponential problem,” Kristian Hall, Climate and Environment Director at Telenor, referring to tipping points such as the melting of arctic permafrost, resulting in additional emissions of the potent greenhouse gas methane. Telenor is a major shareholder of dtac and provides the company with expertise in many areas, including climate change.

Adhering to the Paris Agreement

In 2015, representatives from 196 states gathered in Paris to adopt the legally binding international treaty on climate change, the Paris Agreement. Its goal is to limit the rise of global temperatures to below 2 degrees Celsius – preferably to 1.5 degrees – compared to pre-industrialization levels.

“To achieve this long-term cap on temperature levels, each country is required to issue plans on how to reduce its greenhouse gas (GHG) emissions. Nordic countries are setting stricter and more ambitious climate targets, aimed at 40 percent reduction of GHG emissions when comparing 1990 to 2030,” said Mr. Hall. “As a responsible corporate citizen, Telenor set its long-term goal to reduce emissions of GHG from global operations by 57 percent by 2030, from a 2019 baseline.”

To ensure that Telenor’s is keeping pace with the Paris Agreement goal, the Fornebu-headquartered telecom provider is taking science-based climate action, as prescribed by the Scientific Based Targets Initiative (SBTi).

Ambitious corporate goals

Telenor operates in nine markets across Asia and the Nordics, and there are significant differences between the two regions. Different degrees of economic development call for different climate goals.

“In the Nordic regions, Telenor’s ambition is to have carbon-neutral business operations by 2030, focusing on energy efficiency measures in network operations, purchasing renewable electricity, and finally, implementing carbon neutral services. In Asia, a 50 percent reduction in carbon emission by 2030 is set as a goal, with a focus on substituting diesel generators with solar solutions at base stations and sourcing renewable electricity sources from solar, wind, and hydro power,” said Mr. Hall.

As Telenor reduces its environmental footprint, power purchase agreements (PPAs) will be adopted to anchor its operations’ progress on sustainability. PPAs are long-term contracts to buy renewable energy at agreed volumes and prices that meet the needs of generators and the consumers.

However, challenges remain. In Asia, fossil fuels like coal, oil and natural gas are primary energy sources. In Thailand, corporate PPAs are not yet available due to the power market’s regulation.

“PPAs are critical for the process of reducing greenhouse gas emissions as we’re moving towards the 5G era, which may increase overall energy consumption,” said Mr. Hall.

Leveraging new technologies

Using renewable energy sources will cut global emissions of telecommunication services.

New technologies may also contribute to the reduction of energy use. To achieve this, dtac has strengthened its energy reduction programs, which include deploying cooling precision technologies at data centers and increasing the mix of renewable energy use at cell sites.

The company also partners with leading industries to develop 5G use cases for energy efficiency, such as smart energy monitoring, smart farming, and smart water management.

Another example is the Green Radio project in Norway, which uses machine learning and artificial intelligence (AI) to better forecast the demands from users of telecommunications networks. This enables them to adjust power consumption and radio equipment capacities to match the demand.

Deployment of up-and-coming technologies, such as Internet of Things, Big data, AI and blockchain, will also significantly contribute to the telecommunications industry’s positive climate effects, enabling other companies and consumers to reduce their own emissions.

“In vertical industries, IoT, 5G and blockchain technologies provide a basis for product traceability, allowing industries and consumers to better track the source of raw materials. When it comes to agriculture, automation can be used for unweeding, which can reduce pesticide use. Effective telecommunication is often an important enabler for such new technologies,” said Mr. Hall.

“There are thousands of use cases which are coming up now, in which you can use these new technologies to reduce greenhouse gas emissions and environmental problems in general. So, it's very exciting,” he added.

Additionally, Telenor also has a business continuity plan, which provides a robust telecommunications system to prepare for and adapt to extreme weather events. Such threats will probably increase in frequency and intensity due to climate change.

Managing expectations

“Strong environmental performance is crucial for a company to operate and earn trust from consumers, employees and stakeholders in Nordic countries,” Mr. Hall added. “Increasingly, investors are using a new framework of climate risk reporting – recommended by the Task Force on Climate-related Financial Disclosures – when evaluating whether to invest in a company.”

In turn, this focus on being environmentally responsible has benefited valuations of good corporate citizens, as companies that take more action on climate issues have seen higher stock growth compared with organizations that are weak on environment management. In addition to saving our environment, it is one more reason why businesses should take leadership positions on GHG emissions reduction.

ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page