เปิดชัดๆ
- Close Up Thailand
- 1 วันที่ผ่านมา
- ยาว 4 นาที

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี และมีมติิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
1. เห็นชอบแนวทางการดำเนินโครงการคุณสู้ เราช่วย ระยะที่ 2 ของธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ตามหลักการในข้อ 2.1 โดยใช้กรอบวงเงินงบประมาณตามที่ได้รับการจัดสรรเพื่อดำเนินโครงการคุณสู้ เราช่วย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 (ตามข้อ 1.1) และได้มีการปรับปรุงกรอบวงเงินงบประมาณของแต่ละสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions: SFIs) ให้สอดคล้องกับจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและภาระที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ทั้ง 6 แห่ง ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงสภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) แต่ละแห่งต่อไป
2. เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบ จาก COVID-19 ตามมาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 ที่เสนอในข้อ 2.2.1 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. รับทราบมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้โครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐบาลตามที่เสนอในข้อ 2.2.2 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปรวมทั้งรับทราบเป้าหมายลูกหนี้ที่จะได้รับการช่วยเหลือลดภาระหนี้ผ่านมาตรการของ กค. ตามที่เสนอในข้อ 3.
1. เรื่องเดิม
1.1 โครงการคุณสู้ เราช่วย
คณะรัฐมนตรีมีมติ (11 ธันวาคม 2567) เห็นชอบการดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) (โครงการคุณสู้ เราช่วย) ของธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธอส. ธอท. ธสน. และ ธพว. พร้อมอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวนรวมทั้งสิ้น 38,920 ล้านบาท เพื่อชดเชยการสูญเสียรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ทั้ง 6 แห่ง ตามโครงการคุณสู้ เราช่วย และรับทราบการปรับลดอัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF Fee) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินมาตรการฯ รวมทั้งมีมติในส่วนอื่น ๆ
1.2 มาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19
คณะรัฐมนตรีมีมติ (5 พฤษภาคม 2564) เห็นชอบมาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 รวมถึงอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม 10,000 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินมาตรการดังกล่าว มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ | สาระสำคัญ |
วัตถุประสงค์ | เพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชนและบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 |
แนวทางการ ดำเนินการ | ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท (แห่งละ 10,000 ล้านบาท) ให้แก่ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้มีรายได้ประจำ (ยื่นคำขอสินเชื่อ ผ่านธนาคารออมสิน) และเกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตร (ยื่นคำขอสินเชื่อ ผ่าน ธ.ก.ส.) วงเงินสินเชื่อไม่เกินรายละ 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกิน ร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี (ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก) |
ระยะเวลาการยื่น ขอสินเชื่อ | ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (4 มกราคม 2565) ขยายระยะเวลาออกไปถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 |
งบประมาณ | รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ NPLs รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 ล้านบาท (แห่งละไม่เกิน 5,000 ล้านบาท) |
2. สาระสำคัญของเรื่อง
2.1 แนวทางการดำเนินโครงการคุณสู้ เราช่วย ระยะที่ 2
ภายใต้เศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง จากทั้งปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่ส่งผลให้ความสามารถทางการแข่งขันลดลง และความท้าทายจากนโยบายการค้าโลกที่มีความไม่ชัดเจน และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ขณะที่ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางจำนวนมากยังคงเผชิญกับปัญหาในการชำระหนี้ส่งผลให้คุณภาพสินเชื่อยังมีแนวโน้มปรับด้อยลง โดยเฉพาะสินเชื่อ SMEs และรายย่อย ดังนั้น กค. โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้มีการหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาขยายคุณสมบัติโครงการคุณสู้ เราช่วย ภายใต้ “โครงการคุณสู้เราช่วย ระยะที่ 2” ซึ่งมีหลักการสำคัญเช่นเดียวกับการดำเนินโครงการคุณสู้ เราช่วย ในระยะแรก คือ (1) ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้หนี้ (2) มาตรการเฉพาะกลุ่มที่เน้นช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่มีโอกาสรอดให้สามารถฟื้นตัวกลับมาชำระหนี้ได้ หรือกลับมาเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้และ (3) เป็นมาตรการชั่วคราว ที่มีแนวทางป้องกันมิให้ลูกหนี้เสียวินัยในการชำระหนี้ (Moral Hazard) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
2.1.1 มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ ขยายคุณสมบัติลูกหนี้ให้ครอบคลุมลูกหนี้ที่มีสถานะดังต่อไปนี้ โดยยังคงใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 (Cut-off Date)
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 (ตามข้อ 1.1) | ข้อเสนอของ กค. ในครั้งนี้
|
(1) หนี้ที่มีการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 30 วัน จนถึง 365 วัน นับแต่วันถึงกำหนดชำระ หรือ | |
(2) หนี้ที่ไม่มีการค้างชำระหรือค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันถึงกำหนดชำระ ที่เคยมีประวัติการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 30 วัน และได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 รวมถึงภายใต้หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ในปี 2567 | |
| (3) หนี้ที่ไม่มีการค้างชำระหรือค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันไม่เกินกว่า 30 วัน นับแต่วันถึงกำหนดชำระ ที่เคยมีประวัติการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันไม่เกินกว่า 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 และได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 รวมถึงภายใต้หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ในปี 2567 |
| (4) หนี้ที่มีการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 365 วันเป็นต้นไป นับแต่วันถึงกำหนดชำระ |
ทั้งนี้ ประเภทสินเชื่อและวงเงินสินเชื่อ สถาบันการเงินที่เข้าร่วมมาตรการ และรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไขของมาตรการ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 (ตามข้อ 1.1) |
2.1.2 มาตรการจ่าย ปิด จบ ขยายคุณสมบัติลูกหนี้และประเภทสินเชื่อ ดังนี้
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 (ตามข้อ 1.1) | ข้อเสนอของ กค. ในครั้งนี้
|
ลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่ถูกจัดชั้นเป็น NPLs และมี ภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท โดยครอบคลุม สินเชื่อทุกประเภทที่กู้ในนามบุคคลธรรมดา โดยใช้ ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 (Cut-off Date)
| (1) ลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่ค้างชำระเงินต้นหรือ ดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 90 วัน นับแต่วันถึงกำหนดชำระ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 (2) ลูกหนี้ต้องมีภาระหนี้คงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม2567 ไม่เกินเพดานที่กำหนดของแต่ละประเภทสินเชื่อ ดังนี้ (2.1) กรณีสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน (Unsecured Loan) กำหนดภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 10,000 บาทต่อบัญชี (2.2) กรณีสินเชื่อที่มีหลักประกัน (Secured Loan) กำหนดภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 30,000 บาท ต่อบัญชี และมีวงเงินสินเชื่อต่อบัญชีตามที่กำหนดโดยลูกหนี้แต่ละรายสามารถเข้าร่วมมาตรการได้มากกว่า 1 บัญชี |
ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่เข้าร่วมมาตรการ รูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไขของมาตรการ เป็นไปตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 (ตามข้อ 1.1) |
2.1.3 เพิ่มเติมมาตรการปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มเติมสำหรับหนี้ NPLS ที่ไม่มีหลักประกัน (Unsecured Loan) (มาตรการจ่าย ตัด ต้น) (เป็นมาตรการใหม่ที่เสนอมาในครั้งนี้)
หัวข้อ | สาระสำคัญ |
วัตถุประสงค์ | เพื่อให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน (Unsecured Loan) ที่มียอดหนี้ไม่สูงและเป็น NPLs เพื่อให้ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น |
สถาบันการเงิน ที่เข้าร่วมมาตรการ | (1) ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจ (2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธอส. ธอท. ธสน. และ ธพว. |
คุณสมบัติลูกหนี้และประเภทสินเชื่อ | เป็นหนี้ที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 90 วัน นับแต่วันถึงกำหนดชำระ และเป็นสินเชื่อ Unsecured Loan ที่มียอดหนี้คงค้างไม่เกิน 50,000 บาทต่อบัญชี ทั้งนี้ ประเภทสินเชื่อไม่รวมถึงประเภทลูกหนี้ตามมาตรการ จ่ายตรง คงทรัพย์ โดยต้องเป็นสัญญาสินเชื่อที่ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567และสถานะลูกหนี้ข้างต้นใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 (Cut-off Date) |
รูปแบบการให้ ความช่วยเหลือและเงื่อนไข
| (1) ปรับโครงสร้างหนี้ให้มีเงื่อนไขเป็นการผ่อนชำระคืนเป็นงวด (Term Loan)และกำหนดอัตราผ่อนชำระค่างวดต่อเดือนขั้นต่ำที่ร้อยละ 2 ของยอดเงินต้นคงค้างสินเชื่อ ก่อนเข้าร่วมมาตรการ เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยค่างวดที่ลูกหนี้ชำระจะนำไปชำระ ต้นเงินทั้งจำนวน สำหรับดอกเบี้ยจะพักการชำระไว้ทั้งหมดในช่วงระยะเวลา 3 ปี (2) ลูกหนี้ที่อยู่ในมาตรการจะไม่สามารถก่อหนี้อุปโภคบริโภคใหม่ใน 12 เดือนแรก (3) หากลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ตลอดระยะเวลา 3 ปี สถาบันการเงินจะยกเว้นดอกเบี้ยที่พักไว้ให้ลูกหนี้ โดยสถาบันการเงินจะขอชดเชยดอกเบี้ยจากแหล่งเงินทุนภาครัฐร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยที่ยกเว้นให้ลูกหนี้ และสถาบันการเงินจะรับภาระร้อยละ 50 |
2.1.4 แหล่งเงินจากภาครัฐในการดำเนินโครงการคุณสู้ เราช่วย ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 (ตามข้อ 1.1)
2.2 มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) กค. ได้มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ดำเนินมาตรการเพื่อช่วยเหลือลดภาระให้แก่ลูกหนี้รายย่อยของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ซึ่งมีความเปราะบางมากกว่าลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.2.1 การดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ตามมาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา | |
ลูกหนี้ตามมาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 (ตามข้อ 2.2) ที่ยังไม่มีความพร้อมในการชำระหนี้คืน ดังนี้ สถาบันการเงิน บัญชี ภาระหนี้คงเหลือ ธนาคารออมสิน 291,132 บัญชี 2,732 ล้านบาท ธ.ก.ส. 13,146 บัญชี 70 ล้านบาท รวม 304,278 บัญชี 2,802 ล้านบาท
โดยบางส่วนเป็นลูกหนี้ที่เคยมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีมาตลอด แต่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ส่งผลให้ขาดสภาพคล่องจนไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้ และลูกหนี้บางส่วนที่เป็นหนี้ครั้งแรกเพราะต้องการเงินทุนไปหมุนเวียนในช่วงสถานการณ์ COVID-19 แต่ไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้จนกลายเป็น NPLs ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือจะส่งผลให้ลูกหนี้มีประวัติเป็นหนี้เสียในข้อมูลของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau: NCB) และทำให้สูญเสียโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินในอนาคต | |
แนวทางการช่วยเหลือ | |
มติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2564 ตามข้อ 2.2) | ข้อเสนอของ กค. ในคราวนี้ |
รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ NPLs รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 ล้านบาท
| ให้ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. ดำเนินการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยที่ยังไม่ดำเนินการตัดหนี้สูญออกจากบัญชี พร้อมทั้งให้ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. นำงบประมาณที่ได้รับชดเชยความเสียหายจาก NPLs ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 มาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้เพื่อไม่ให้เป็น NPLs หรือหมดสิ้นภาระหนี้ที่เกิดจากมาตรการดังกล่าวต่อไป |
2.2.2 มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้โครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐบาล
แนวทางการช่วยเหลือ |
(1) ธนาคารออมสินดำเนินการช่วยเหลือลูกหนี้โครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐบาลอื่น ๆ ที่ได้รับการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก NPLs ที่มีภาระหนี้คงเหลือไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งมีจำนวนประมาณ 226,382 บัญชี ภาระหนี้ประมาณ 6,605 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินจะติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ที่มากกว่าเกณฑ์ปกติของธนาคาร และจะดำเนินการปิดบัญชีเนื่องจากลูกหนี้ไม่นำเงินมาชำระและตัดเป็นหนี้สูญทั้งหมด โดยไม่ติดใจทวงถามอีกต่อไป ซึ่งจะช่วยให้ลูกหนี้หมดภาระหนี้ หลุดพ้นจากประวัติหนี้เสียและมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้น (2) เพื่อให้ความช่วยเหลือครอบคลุมถึงลูกหนี้กลุ่มเกษตรกรและลูกหนี้กลุ่มเปราะบางมากขึ้น เห็นควรให้ธ.ก.ส. พิจารณามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติม เพื่อช่วยบรรเทาภาระหนี้ของลูกหนี้ให้หมดภาระหนี้ได้เร็วขึ้นและหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสียโดยเร็ว |
3. เป้าหมายลูกหนี้ที่จะได้รับการช่วยเหลือลดภาระหนี้ ผ่านมาตรการของ กค.
กค. ได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือลดภาระหนี้ให้กับลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะช่วยเหลือลดภาระลูกหนี้ได้สูงสุด 6.1 ล้านบัญชี คิดเป็นภาระหนี้ทั้งสิ้นจำนวน 1.2 ล้านล้านบาท มีผลการดำเนินมาตรการและเป้าหมาย ดังนี้
3.1 ผลการดำเนินมาตรการ
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ตามโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 |
ธนาคารออมสินช่วยเหลือลูกหนี NPLs ตามโครงการฯ เพื่อไม่ให้เป็น NPLs หรือหมดภาระหนี้แล้วจำนวน835,242 บัญชี ภาระหนี้ 5,854 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. ช่วยเหลือลูกหนี้แล้วจำนวน 256,921 บัญชี ภาระหนี้ 1,763 ล้านบาท |
การจัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์อารีย์ จำกัด (ARI-AMC) |
เป็นการร่วมทุนระหว่างธนาคารออมสินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (BAM) เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือลูกหนี้ที่เป็น NPLS ให้เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ หรือไกล่เกลี่ยหนี้ โดย ARI-AMC รับโอนหนี้จากธนาคารออมสิน ครั้งที่ 1 แล้ว เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2567 จำนวน 133,687 บัญชี ต้นเงินจำนวน 10,712 ล้านบาท และคาดว่าจะรับโอนลูกหนี้ครั้งถัดไปภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2568 ในเบื้องต้นจำนวน 261,872 บัญชี ต้นเงิน จำนวน 13,168 ล้านบาท |
(1) เดิม กค. คาดว่าลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติที่ได้รับการช่วยเหลือผ่านโครงการคุณสู้ เราช่วย มีจำนวน 1.9 ล้านราย หรือ 2.1 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดสินเชื่อคงค้างประมาณ 890,000 ล้านบาท (2) จากการสำรวจข้อมูลผลการคัดกรองคุณสมบัติจากสถาบันการเงิน ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2568 พบว่าลูกหนี้ที่ลงทะเบียนและมีคุณสมบัติเข้าข่ายร่วมโครงการได้ จำนวน 0.59 ล้านราย (คิดเป็น ร้อยละ 30 ของลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 1.9 ล้านราย) เป็นยอดหนี้ 430,000 ล้านบาท (คิดเป็น ร้อยละ 49 ของยอดหนี้ที่มีคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 890,000 ล้านบาท) |
3.2 เป้าหมายมาตรการ
โครงการคุณสู้ เราช่วย (ระยะที่ 2) (ตามข้อ 3.1) |
(1) คาดว่ามีลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติที่ได้รับการช่วยเหลือเพิ่มเติมจำนวน 1.8 ล้านราย หรือ 2.0 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดสินเชื่อคงค้างประมาณ 310,000 ล้านบาท (2) เมื่อรวมความช่วยเหลือทั้งในโครงการคุณสู้ เราช่วย ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 แล้ว จะสามารถช่วยเหลือ ลูกหนี้ได้จำนวน 3.7 ล้านราย หรือ 4.1 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดสินเชื่อคงค้างประมาณ 1.2 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของจำนวนบัญชีสินเชื่อบ้าน สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์และสินเชื่อธุรกิจทั้งหมด |
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ตามมาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 (ตามข้อ 3.2.1) |
คาดว่ามีลูกหนี้ของธนาคารออมสินที่มีคุณสมบัติที่ได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 291,132 บัญชี ภาระหนี้คงเหลือ 2,732 ล้านบาท และมีลูกหนี้ของ ธ.ก.ส. ที่มีคุณสมบัติที่ได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 13,146 บัญชี ภาระหนี้ คงเหลือ 70 ล้านบาท |
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้โครงการสินชื่อตามนโยบายรัฐบาล (ตามข้อ 3.2.2) |
คาดว่ามีลูกหนี้ของธนาคารออมสินที่มีคุณสมบัติที่ได้รับการช่วยเหลือจำนวนประมาณ 220,000 บัญชี ภาระหนี้ประมาณ 6,600 ล้านบาท |
4. กค. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 27 และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ด้วยแล้ว
Commentaires